<< Go Back

                   เพื่อให้นักเรียนศึกษาหลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์

1. ชุดกล้องจุลทรรศน์

2. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ

3. กล่องแสง

4. กระดาษขาว

5. กระดาษฝ้า

 

                  1.ตัดแผ่นกระดาษขนาด 5x5 ตารางเซนติเมตร เจาะเป็นรูปลูกศรที่สูงประมาณ 0.3 เซนติเมตร ที่บริเวณกลางกระดาษซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า แผ่นลูกศร
                  2.นำแผ่นลูกศรเสียบหน้ากล่องแสง เอาเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสวางหน้าแผ่นลูกศร โดยให้ระยะระหว่างเลนส์นูนกับแผ่นลูกศรมากกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์นูนเล็กน้อย
                  3.นำกระดาษฝ้าขนาด 6x6 ตารางเซนติเมตร ซึ่งจะเรียกว่า แผ่นฉาก ไปเสียบกับที่เสียบฉาก
                  4.จัดแผ่นฉากให้รับภาพจริงกลับหัวขนาดขยายแล้วใช้เลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสมากมองภาพที่แผ่นฉากจนเห็นภาพขนาดขยาย
                  5.เปลี่ยนแผ่นลูกศรโดยใช้ภาพสไลด์ที่มีกระดาษฝ้าปิดทับด้านหลัง แล้วดูภาพสไลด์ผ่านเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสมาก โดยไม่ต้องมีแผ่นฉากกั้น ดังรูป

                 1. กล้องจุลทรรศน์ (หรือชุดกล้องจุลทรรศน์) มีเลนส์นูน 2 อัน คือ เลนส์ที่อยู่ใกล้กับวัตถุเป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสสั้นซึ่งยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และเลนส์นูนอันใหญ่ซึ่งมีความยาวโฟกัสประมาณ 14.5 เซนติเมตรเป็นเลนส์ใกล้ตา
                 2. ภาพของลูกศรที่มองเห็น เป็นภาพเสมือนขนาดขยาย
                  3. ตำแหน่งของลูกศรต้องอยู่ระหว่าง f และ 2f ของเลนส์นูนเล็ก หรืออยู่ระหว่าง  4.5 เซนติเมตรถึง 9.0 เซนติเมตร จึงจะเกิดภาพจริงหน้าเลนส์อันใหญ่ จะเป็นภาพเสมือนขนาดใหญ่ที่ตามองเห็น ภาพเสมือนจะมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเลนส์ทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ 24.5 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นความยาวของกล้องจุลทรรศน์


<< Go Back