<< Go Back

         เพื่อให้นักเรียนศึกษาการเปลี่ยนปริมาตรของก๊าซเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนโดยให้ความดันคงตัว

    1.ตะเกียงแอลกอฮอล์

  2.กรวยแก้ว

3.หลอดแก้วรูเล็กปลายปิดข้างหนึ่ง
ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร

   4.แท่งแก้ว

  
         5.ไม้บรรทัด

6.น้ำมันหล่อลื่น

         1.ก่อนทดลองต้องปิดปลายหนึ่งของหลอดแคปปิลลารี โดยการลนไฟที่ปลายหลอดหลอมจนแก้วปิด และขณะที่หลอดยังร้อน (อาจใช้ผ้าหรือกระดาษรองที่จับ)
         2.จิ้มปลายอีกนิ้ว นิ้วอีกข้างหนึ่งที่เปิดเข้ากับหยดน้ำมัน เมื่ออากาศในหลอดค่อยๆเย็นลงมันจะดูดน้ำมันเข้าไปส่วนหนึ่ง ทำให้ลำอากาศขังอยู่ในท่อของหลอดแคลิปปิลลารี ซึ่งพร้อมที่จะนำไปทดลอง ดังรูป (หลังจากอากาศเย็นสู่อุณหภูมิห้องแล้ว)

         ผลการทดลองที่ได้  คือ

ครั้งที่

ความยาวของลำอากาศ (cm)

ปริมาตรของลำอากาศ (cm3)

อุณหภูมิ (c)

1

2.6

2.6 A

40

2

2.5

2.5 A

30

3

2.4

2.4 A

20

4

2.3

2.3 A

10

5

2.2

2.2 A

5

         นำข้อมูลจากตารางมาเขียนกราฟระหว่างปริมาตรลำอากาศและอุณหภูมิ จะได้กราฟดังนี้

สรุปได้ว่า
         1. ก๊าซทุกชนิด เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรกับอุณหภูมิที่ความดันคงตัว จะเป็นเส้นตรงตัดแกนอุณหภูมิที่ -273 องศาเซลเซียส ซึ่งที่อุณหภูมิที่ -273 องศาเซลเซียส ถือได้ว่าเป็นอุณหภูมิต่ำสุดของก๊าซทุกชนิด เรียกว่า อุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์ มีหน่วยเป็นเคลวิน และให้ศูนย์เคลวินอยู่ที่อุณหภูมิ -273 องศาเซลเซียส โดย 1 ช่องสเกลของเคลวิน เท่ากับ 1 ช่องสเกลขององศาเซลเซียส
         2. เมื่อเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของก๊าซกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ที่ความดันคงตัว จะได้กราฟเป็นเส้นตรงผ่านจุดกำเนิด นั่นคือ สำหรับก๊าซปริมาณหนึ่งที่ความดันคงตัว ปริมาตรของก๊าซแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ ข้อสรุปนี้คือ " กฎของชาร์ล "


<< Go Back