<< Go Back

        เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจสอบโมเมนตัมและพลังงานจลน์ของการชนแบบไม่ยืดหยุ่น

   1. รถทดลอง

2. แท่งเหล็ก

     3. รางไม้

4. แผ่นเหล็กสปริง

5. ด้ายยาว 30 เซนติเมตร

6. สายไฟยาว

   7. สายไฟสั้น

8. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา

9. หม้อแปลงไฟฟ้าโวลต์ต่ำ

        10. แถบกระดาษ

11. ดินน้ำมัน

 

        ติดดินน้ำมันที่หน้ารถทดลองคันหนึ่ง หรือทั้งสองคัน ติดแถบกระดาษกับรถทดลองทั้งสองคันเพื่อเตรียมวัดความเร็ว สอดกับเครื่องเคาะสัญญาณเวลาแยกกันคนละเครื่องดังรูป

          เมื่อติดแถบกระดาษกับรถทดลองทั้งสองเรียบร้อยแล้วกดสวิตซ์ให้เครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน ใช้มือผลักรถทดลองคันซ้าย ไปชนรถคันขวาที่อยู่นิ่ง สังเกตการเคลื่อนที่ของรถทดลองทั้งสองระหว่างชนกันและหลังจากการชนกัน แล้วถอดแถบกระดาษออกจากรถทดลอง เพื่อวัดความเร็วของรถทั้งสองโดยแยกเป็นความเร็วก่อนการชนเพียงเล็กน้อย ระหว่างการชน และหลังการชน ระหว่างการชนอาจจะวัดไม่ได้แต่สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้
          ทำการทดลองซ้ำโดยผลักให้มีความเร็วที่เข้าชนต่างไป และเพิ่มมวลของรถทดลองคันที่วิ่งเข้าชนเป็น 2 หรือ 3 เท่า โดยซ้อนด้วยแท่งเหล็กหรือถุงทราย (ปกติรถทดลองแต่ละคันมีมวลเท่ากันและเท่ากับ 0.5 กิโลกรัม เท่ากับมวลของแท่งเหล็กและถุงทราย) ส่วนรถทดลองคันที่ถูกชนให้มวลคงเดิม

        จากการผลักมวล 0.50, 1.00 และ 1.50 กิโลกรัม ซึ่งติดดินน้ำมันไว้ท้ายรถ รถทั้งสองคันจะเคลื่อนที่ติดกันไป ดังนั้นความเร็วหลังการชนของรถทั้งสองคันจะเท่ากัน จุดบนกระดาษที่ติดไว้ที่ท้ายรถทดลองคันที่วิ่งเข้าไปชนมีลักษณะดังนี้

        จากแถบกระดาษที่ได้จากการทดลองนำมาหาความเร็วก่อนชนและความเร็วหลังการชนของรถทดลองแต่ละคัน แล้วคำนวณหาโมเมนตัมและพลังงานจลน์ ได้ดังนี้

สรุปได้ว่า
        1.การชนในหนึ่งมิติทุกกรณี โมเมนตัมรวมของระบบคงตัว
        2.การชนของรถที่ติดดินน้ำมัน พลังงานจลน์รวมก่อนการชนจะมากกว่าพลังงานจลน์รวมหลังการชน แสดงว่า พลังงานจลน์ส่วนหนึ่งหายไประหว่างการชน การชนที่มีการสูญเสียพลังงานจลน์ในระหว่างการชนเรียกว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่น


<< Go Back