<< Go Back

  มอนอแซ็กคาไรด์  (Monosaccharide)  หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  มีลักษณะเป็นโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 3-8  อะตอม  สามารถละลายน้ำได้ดีและมีรสหวาน  เป็นน้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดไม่สามารถถูกย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้  ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดอาจมีสุตรโมเลกุลเหมือนกัน  แต่มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันได้  เช่น  ไรโบส  ไลโซส  ไซโลส  และอะราบิโนส  ซึ่งต่างก็มีสูตรโมเลกุลเป็น C5H10O5 เหมือนกัน  แต่มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกัน
                    กาแลกโทส (galactose)  ฟรักโทส (fructose)  และกลูโคส (glucose)  เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบได้มากในกระแสเลือด  มีสูตรโมเลกุลเป็น C6H12O6  เป็นน้ำตาลกลุ่มที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก
                    น้ำตาลแลกโทส  เป็นน้ำตาลที่มีความหวานน้อย  ไม่พบในธรรมชาติ  แต่ได้จากการย่อยสลายน้ำตาลแลกโทสในน้ำนม  เป็นสารองค์ประกอบของระบบสมองและเนื้อเยื่อประสาท
                    น้ำตาลฟรักโทส  เป็นน้ำตาลที่มีความหวานมากที่สุด  พบมากในน้ำผึ้ง  ผัก  และผลไม้ที่มีรสหวานต่าง ๆ โดยมักพบอยู่ร่วมกับซูโครสและกลูโคส  เป็นน้ำตาลที่มีบทบาทที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารของสิ่งมีชีวิต
                    น้ำตาลกลูโคส  เป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยพืชสีเขียว  จากนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลรูปอื่น ๆ หรือคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืชต่อไป  พบได้ในผลไม้ที่มีรสหวาน  น้ำผึ้ง  และในกระแสเลือด  น้ำตาลกลูโคสมีบทบาทสำคัญ  คือ  ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัว  ควบคุมการเต้นของหัวใจ  ช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และยังเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายด้วย  โดยร่างกายจะสามารถเผาผลาญกลูโคสได้โดยอาศัยกลูโคสและแก๊สออกซิเจนเป็นสารตั้งต้น ได้ผลิตภัณฑ์คือพลังงานแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  และน้ำ   ดังสมการ
                                   C6H12O6 + 6O2                 ------------->                    พลังงาน  +  6CO2 + 6H2O
                    เราสามารถทดสอบหาน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้  โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ซึ่งมีสีฟ้า  เมื่อสารละลายเบเนดิกต์ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอบสีแดงอิฐของคอปเปอร์ (I)  ออกไซด์
(Cu2O)  โดยความเข้มของสีแดงอิฐที่สังเกตได้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่อยู่ในสารที่นำมาทดสอบ

 

https://sites.google.com/site/moonoyr/kharbohidert/natal-molekul-deiyw

    << Go Back