<< Go Back

ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในประเทศอังกฤษและประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่รัฐปารา (Pará) ของประเทศบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา

การใช้ประโยชน์และการแปรรูป

ในขั้นต้นยางพาราที่กรีดได้มักจะถูกนำไปแปรรูปเบื้องต้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
- ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน
ยกตัวอย่างเช่น ยางสำหรับประกอบยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ ถุงมือยางทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น
โดยเมื่อพ.ศ. 2313 โจเซฟ พริลลี่ ค้นพบว่า ยางมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถลบรอยดินสอออกได้โดยไม่ทำให้กระดาษเสียหาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2366 ชาล์ล แมกกินตอซ นำยางมาผลิตเสื้อกันฝนจำหน่ายในสก็อตแลนด์เป็นครั้งแรก และในปีพ.ศ. 2389 โทมัส แฮนค็อค ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรีย และพัฒนาจนในปี พ.ศ. 2438 ประดิษฐ์เป็นล้อรถยนต์ได้สำเร็จ

 

https://th.wikipedia.org/wiki/ยางพารา

    << Go Back