<< Go Back

         อัตราการเกิดปฏิกิริยา (reaction rate, r) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาเปลี่ยนไป

ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์กับเวลา
         ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาโมเลกุลของสารตั้งต้นก็จะเปลี่ยนเป็นสารผลิตภัณฑ์ ทำให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง ส่วนความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจึงสามารถติดตามการดำเนินไปของปฏิกิริยาได้จาก

         - การวัดความเข้มข้นที่ลดลงของสารตั้งต้น

         - การวัดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์

หมายเหตุ :

ในการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยามีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ

  1. ต้องทำการผสมสาร (เขย่า) ด้วยความสม่ำเสมอ
  2. เมื่อผสมสารเสร็จต้องรีบทำการวัดทันที
  3. การผสมสารด้วยมือ จะหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเริ่มต้น (initial rate) จริงๆ ได้ ยากมากเพราะเมื่อผสมสารด้วยมือเสร็จแล้วทำการวัด ก็หมายความว่า เวลาได้ผ่านไปแล้วอย่างน้อย 3 วินาที
  4. ต้องทำการทดลองที่ความเข้มข้นต่ำๆ ตั้งแต่ระดับมิลลิโมลาร์ (mM) ลงมา

 

http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-chemistry2/kinetics/rate_of_reaction.htm

    << Go Back