<< Go Back

          1.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการและทดลองหาอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาเคมีบางชนิด ๆ ได้
          2.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบการทดลองเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผลของความเข้มข้นและพื้นที่ผิวของสารต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
          3.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าอุณหภูมิและตัวเร่งปฏิกิริยามีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
          4.  อธิบายเหตุผลที่ธรรมชาติของสารเคมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
          5.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถยกตัวอย่างวิธีการที่ใช้ควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาในทางอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวันได้

                       1. กระบอกตวง 10  cm3                  1          อัน
                       2. จุกเกอร์ที่กรีดข้าง                         1          อัน
                       3.  บีกเกอร์ขนาด  100  cm3            1         ใบ
                       4.  มีดโกน                                         1          อัน
                        5.  นาฬิกาจับเวลา                           1         เรือน
                       6. ลวดแมกนีเซียม  ยาว 8 cm         1          เส้น 
                       7. สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.2 mol/ dm3                 15        cm3
                       8.  น้ำกลั่น                                         50       cm3

           1. นำจุกก๊อกขนาดพอดีกับปากกระบอกตวงขนาด 10 cm3 มาบากด้านข้างตามยาวให้เป็นร่องเล็ก ๆ เพื่อให้ของเหลวไหลออกได้และกรีดที่บริเวณกึ่งกลางหน้าตัดจุกก๊อกปลายด้านที่เล็กกว่าให้เป็นรอยยาวประมาณ 0.5 cm
           2. นำลวดแมกนีเซียมที่ขัดสะอาดแล้วยาวประมาณ 8 cm ม้วนขดให้เป็นเกลียวคล้ายสปริง จากนั้นเสียบปลายลวดด้านหนึ่งที่รอยกรีดกลางจุกก๊อกในข้อ 1
           3. ใส่น้ำกลั่นประมาณ 50 cm3 ในบีกเกอร์ขนาด 100 cm3
           4. ใส่สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2.0 mol/ dm3 ในกระบอกตวงขนาด 10 cm3 จนเต็ม
           5. นำจุกก๊อกปิดปากกระบอกตวง แล้วคว่ำกระบอกตวงในบีกเกอร์ที่มีน้ำกลั่นทันที ให้ปากกระบอกตวงอยู่ใต้น้ำ เริ่มต้นจับเวลาเมื่อของเหลวในกระบอกตวงอยู่ที่ 1 cm3 และบันทึกเวลาที่ของเหลวลดลงทุก ๆ 1 cm3 จนกระทั่งของเหลวถึงขีด 8 cm3
           6. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สกับเวลา
           7. นำเสนอและสรุปผลการทดลอง
           

          จากผลการทดลองสามารถสรุปผลของการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้

ปริมาตรของ H2 cm3 เวลาที่ใช้ (วินาที)
1
2
3
4
5
6
7

80
170
270
390
545
795
1265

โดยสามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊ส H2 กับเวลา ได้ดังนี้

            ในช่วงแรกเริ่มของปฏิกิริยา เส้นกราฟจะมีลักษณะใกล้เคียงเส้นตรงแสดงว่าอัตราการเกิด H2 ในตอนเริ่มต้นปฏิกิริยาค่อนข้างคงที่ หลังจากนั้นเส้นกราฟจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งที่มีความชันน้อยลง แสดงว่าปริมาณการเกิดของ H2 จะลดลงเรื่อย ๆ การคำนวณหาอัตราเร็วของการเกิด H2 ที่ช่วงปริมาตรต่าง ๆ ทำได้ดังนี้

            อัตราการเกิด  H2  ในช่วงขีดที่  1-3  cm3   =                     =    1.18  x  10-2  cm3/s 
            อัตราการเกิด  H2  ในช่วงขีดที่  3-5  cm3    =                     =    9.01 x  10-3   cm3/s 
            อัตราการเกิด  H2  ในช่วงขีดที่  5-7  cm3    =                     =    4.9  x  10-2    cm3/s 
            อัตราการเกิด  H2  ในช่วงขีดที่  7-8  cm3    =                     =    4.26  x  10-3   cm3/s 
            อัตราเฉลี่ยของการเกิด  H2                       =                     =    5.53  x  1032   cm3/s 

            จากผลการทดลองจะสรุปได้ว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อเริ่มต้นจะเร็วและจะช้าลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป แต่อัตราการลดลงไม่คงที่ทำให้ได้เส้นกราฟดังรูป รูปแบบของเส้นกราฟดังกล่าวเรียกว่า กราฟโอกซ์โพเนนเชียล (exponential)
            ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยามีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ ความเข้มข้นของสารเริ่มต้น ,พื้นที่ผิว (ในกรณีที่สารเริ่มต้นเป็นของแข็ง) , อุณหภูมิ , ตัวเร่งปฏิกิริยา และธรรมชาติของสารเริ่มต้น



<< Go Back