<< Go Back

           เพื่อให้นักเรียนบอกความสามารถในการละลายในตัวทำละลายต่างชนิดและความสามารถในการนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิก

                      1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ จำนวน 2 หลอด
                      2. ช้อนตักสาร เบอร์ 1 จำนวน 1 อัน
                      3. เครื่องตรวจการนำไฟฟ้าพร้อมรังถ่าน จำนวน 1 ชุด
                      4. ที่วางหลอดทดลอง จำนวน 1 อัน

           สารเคมี

                      1. ผงจุนสี (CuSO4.5H2O) จำนวน 10 กรัม
                      2. แอซีโตน จำนวน 5 cm3
                      3. น้ำกลั่น จำนวน 15 cm3

           1. นำหลอดทดลองขนาดใหญ่ 2 หลอด หลอดที่ 1 ใส่น้ำกลั่น 5 cm3 หลอดที่ 2 ใส่อะซีโตน 5 cm3
           2. ตักผงจุนสีใส่ในหลอดที่ 1 จำนวน 0.5 g เขย่าให้ละลายหมดแล้วจึงเติมต่อไปอีก ครั้งละ 0.5 g จนกระทั่งจุนสีไม่ละลาย บันทึกผล จากนั้น นำหลอดที่ 2 มาทดสอบการละลายเช่นเดียวกันกับ หลอดที่ 1 และเปรียบเทียบปริมาณการละลายของจุนสีในหลอดทั้ง 2
           3. นำสารละลายในหลอดทดลองทั้ง 2 มาทดสอบและเปรียบเทียบการนำไฟฟ้า
           4. บันทึก และ สรุปผลที่ได้

หมายเหตุ :: น้ำเป็นตัวทำละลายอนินทรีย์
                      ส่วนอะซีโตน C3H6O เป็นตัวทำละลายอินทรีย์

           จากการทดลองสามารถสรุปผลได้ดังนี้

สารเคมี

การละลาย

การนำไฟฟ้า

การละลาย

ไม่ละลาย

นำไฟฟ้า

ไม่นำไฟฟ้า

จุนสีในน้ำ

 

 

จุนสีในแอซีโตน

 

 

           สรุปได้ว่า จุนสีเป็นสารประกอบไอออนิกซึ่งประกอบด้วย คอปเปอร์ไอออน (Cu2+) ซัลเฟตไอออน SO2+ และโมเลกุลของน้ำ มีสูตรโมเลกุลเป็น CuSO4.5H2O น้ำเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่มีขั้ว ส่วนแอซีโตนเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ที่มีขั้วอย่างอ่อน จุนสีเมื่อละลายน้ำสามารถแตกตัวเป็นคอบเปอร์ไอออน(ไอออนบวก) และซัลเฟตไอออน (ไอออนลบ) ดังนั้นจึงสามารถนำไฟฟ้าได้ แต่จุนสีไม่ละลายใน แอซีโตนจึงไม่แตกตัวเป็นไอออน ดังนั้นจึงไม่นำไฟฟ้า

 



<< Go Back