<< Go Back

           เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากอิเล็กตรอนกับนิวเคลียสและแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากแม่เหล็กกับลูกเหล็ก

           1. ถ้วยพลาสติกใส 1 ใบ
           2. แท่งแม่เหล็ก 1 อัน
           3. ลูกเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร 100 ลูก

หมายเหตุ ไม่ควรใช้ลูกเหล็กขนาดใหญ่ไป เพราะจะทำให้แม่เหล็กดึงดูดลูกเหล็กได้น้อย

           1. นำลูกเหล็กลักษณะกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 mm จำนวนประมาณ 100 ลูก ใส่ลงในถ้วยพลาสติกใส
           2. จุ่มปลายด้านหนึ่งของแท่งแม่เหล็กลงในถ้วยบรรจุลูกเหล็ก
           3. ยกแท่งแม่เหล็กขึ้นจากถ้วย สังเกตการณ์เกาะของลูกเหล็กบนแท่งแม่เหล็ก
           4. ค่อย ๆ ใช้มือแกะลูกเหล็กออก โดยเริ่มจากลูกเหล็กที่อยู่นอกสุดจนถึงลูกเหล็กลูกสุดท้าย พร้อมทั้งสังเกตแรงที่ใช้ในการแกะลูกเหล็กเท่านั้น
           5. สรุปผลที่ได้และอธิบาย

           จากการนำแม่เหล็กจุ่มลงในลูกเหล็กแล้วยกแท่งแม่เหล็กขึ้น จะเห็นลูกเหล็กจำนวนหนึ่งติดมากับปลายเหล็ก เมื่อใช้มือแกะลูกเหล็กออกทีละลูกจากลูกนอกสุดไปจนถึงลูกในสุดที่ติดกับแท่งแม่เหล็ก จะพบว่ามีแรงดึงดูดระหว่างแม่เหล็กกับลูกเหล็กไม่เท่ากัน
           เมื่อแกะลูกเหล็กด้วยมือจะพบว่า ลูกเหล็กที่อยู่นอกสุดใช้แรงในการดึงออกน้อยกว่าลูกเหล็กที่อยู่ใกล้แม่เหล็ก และ จำนวนลูกเหล็กที่อยู่แถวนอกมีมากกว่าจำนวนลูกเหล็กที่อยู่ใกล้แม่เหล็กหรือติดกับแม่เหล็ก
           ใช้ผลที่ได้เปรียบเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างนิวเคลียส และ อิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ ตามตารางธาตุข้างล่างนี้

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/lesson/1064




<< Go Back