<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตลักษณะภายนอก และภายในรวมทั้งความยืดหยุ่นของปอด
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตลักษณะโครงสร้างของหลอดลม ท่อลม เนื้อเยื่อปอด และหลอดเลือด

1. ปอดหมู หรือปอดวัว
2. เครื่องมือผ่าตัด ถาดผ่าตัด
3. สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 cm
4. ถุงมือยาง
5. ที่สูบลม

ให้นักเรียนสวมถุงมือยาง นำปอดไปล้างให้สะอาดและดำเนินการดังนี้

1. ให้พิจารณาลักษณะและโครงสร้างของปอด
2. ตัดหลอดลม ลองใช้นิ้วมือบีบแล้วปล่อย สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากนั้นสังเกตการณ์จัดเรียงตัวของกระดูกอ่อน และรูปร่างของกระดูกอ่อนที่ประกอบกันเป็นหลอดลม
3. ผ่าเนื้อปอด ศึกษาลักษณะภายในของเนื้อปอด และขั้วปอด ใช้สายยางสอดเข้าไปในหลอดลมแล้วใช้ที่สูบลมสูบเข้าไป สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง (ห้ามใช้ปากเป่า)
4. ทำเช่นเดียวกับข้อ 3. แต่เปลี่ยนบริเวณและตำแหน่งที่กรีดเนื้อปอด
5. วาดรูปโครงสร้างของปอดพร้อมกับชี้ส่วนประกอบ

- ปอดมีสีอะไร เพราะเหตุใดจึงมีสีเช่นนั้น
- ลักษณะรูปร่างและขนาดของปอดซ้าย และปอดขวาที่นักเรียนสังเกตได้แตกต่างกันอย่างไร
- เมื่อใช้นิ้วมือบีบหลอดลมแล้วปล่อย หลอดลมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- ลักษณะของหลอดลม การจัดเรียงตัวของกระดูกอ่อน และลักษณะของกระดูกอ่อนและถุงลมมีความเหมาะสมต่อการทำหน้าที่อย่างไร

ผลการทดลองที่ได้ คือ ปอดมีสีแดงเรื่อ เพราะตามถุงลมจะมีหลอดเลือดฝอยไปหล่อเลี้ยง
ลักษณะรูปร่างและขนาดของปอดซ้ายมี 2 พู ปอดขวามี 3 พู ปอดซ้ายเล็กกว่าปอดขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านซ้ายมีหัวใจอยู่ด้วย
เมื่อใช้นิ้วมือบีบหลอดลมแล้วปล่อย หลอดลมจะกลับคงรูปเดิม

หลอดลมมีกระดูกอ่อนเป็นวงเรียงตัวต่อ ๆ กัน และปลายกระดูกอ่อนแต่ละชิ้นจะไม่ชนกันมีกล้ามเนื้อเชื่อมระหว่างปลาย จึงมีลักษณะเหมือนกระดูกซี่โครงงูหรือรูปเกือกม้ามีความยืดหยุ่นทำให้หลอดลมไม่ตีบแบน สามารถขยายตัวได้เล็กน้อย จึงมีประโยชน์ทำให้อากาศเข้าและออกจากปอดได้สะดวก และการที่ถุงลมมีปริมาณมาก ช่วยให้มีพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สได้มาก

สรุปได้ว่า

เมื่อนำมาเปรียบเทียบการทำงานของฝาปิดกล่องเสียงในการที่มีการหายใจเข้าออกเชื่อมโยงกับการกลืนอาหาร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  ขณะสูบลมหายใจเข้าออก ขณะกลืนอาหาร
  ตำแหน่งของฝาปิดกล่องเสียง ยกตัวสูงขึ้น เลื่อนลงต่ำ
  ทางเดินหายใจ ปิด ปิด
  ทางเดินอาหาร ปิด เปิด

จากการศึกษาปอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะพบว่าเนื้อปอดจะมีลักษณะหยุ่น หลอดลมประกอบด้วยกระดูกอ่อนเรียงต่อกัน เมื่อสูบลมเข้าหลอดลมไปยังขั้วปอดจะเกิดแรงดันอากาศเข้าไปในปอด ทำให้ปอดขยายตัวมีปริมาตรเพิ่มมากขึ้น  โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ได้ศึกษาคล้ายคลึงกับปอดของคน


<< Go Back