<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมสไลด์สดเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์พืช เซลล์สัตว์และสิ่งมีชีวิต เซลล์เดียว โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่กำหนด
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตและชี้ส่วนต่างๆ ของโครงสร้างของเซลล์
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาปรากฏการณ์การไหลเวียนของไซโทพลาซึมในใบสาหร่ายหางกระรอก
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ ขนาดและโครงสร้างภายในเซลล์พืช เซลล์สัตว์และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

1. กล้องจุลทรรศน์พร้อมสไลด์และกระจกปิดสไลด์

2. เข็มเขี่ย

3. หลอดหยด

4. ใบมีดโกน

5. ไม้จิ้มฟัน

6. กระดาษเยื่อ

7. น้ำ

8. สารละลายไอโอดีน ความเข้มข้น 2 %

9. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้น 0.85% และ 2%

10. เอทิลแอลกอฮอล์ 70%

11. หัวหอม

12. เยื่อบุข้างแก้ม
13. สาหร่ายหางกระรอก

14. แหล่งน้ำที่มีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

ตอนที่ 1
1. ให้ศึกษาโครงสร้างภายใน และขนาดของเซลล์พืช เซลล์สัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพร้อมทั้งการบันทึกภาพลายเส้นของเซลล์ที่พบ ชี้ส่วนต่างๆ ของโครงสร้างเหล่านั้นและบันทึกกำลังขยายไว้ใต้ภาพด้วย
2. ให้แต่ละกลุ่มเปรียบเทียบลักษณะ ขนาดและโครงสร้างภายในของเซลล์ที่ศึกษาแนะนำเสนอต่อชั้นเรียน
- โครงสร้างของเซลล์ที่นักเรียนศึกษาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- เซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมีขนาดเท่ากันหรือไม่ นักเรียนสามารถหาขนาดโดยประมาณของเซลล์เยื่อหอมได้กี่ µm
- เปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่พบในไซโทพลาซึมของใบอ่อนกับใบแก่ของสาหร่ายหางกระรอก

ตอนที่ 2

1. หยดน้ำกลั่น 1 หยดบนสไลด์แผ่นแรก และหยดสารละลายโซเดียมลอไรด์วามเข้มข้น 2% บนสไลด์แผ่นที่สอง
2. ลอกเยื่อหัวหอมด้านใน แล้วตัดแบ่งเป็น 2 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดประมาณ 0.5x0.5 cm2 วางบนสไลด์ที่มีหยดน้ำ และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
3. นำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของไซโทพลาซึม
- จากการทดลองนี้ พบโครงสร้างใดของเซลล์พืชชัดเจนขึ้น
- ไซโทพลาซึมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าอย่างไร

ตอนที่ 1
โครงสร้างที่เหมือนกัน ของเซลล์ที่ได้ศึกษา ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนโครงสร้างที่แตกต่างนั้น ได้แก่ ผนังเซลล์ และ คลอโรพลาสต์ พบในเซลล์ของพืชและสาหร่ายบางชนิด

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมีขนาดไม่เท่ากัน เซลล์เยื่อหอมมีขนาดประมาณ 93 ไมโครเมตร

ในใบอ่อนที่บริเวณยอดของสาหร่ายหางกระรอกมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมซึ่งจะสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์ ส่วนใบแก่ไม่พบปรากฏการณ์นี้ปรากฏการณ์การไหลเวียนของไซโทพลาซึม เรียกว่า ไซโคลชิส (cyclosis)

ตอนที่ 2
จากการทดลองนี้ โครงสร้างเซลล์พืชที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผนังเซลล์ และเยื่อหุ้มเซลล์ จากสไลด์แผ่นที่ 2 ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพืชที่แช่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 2% ไซโทพลาซึมมีการหดตัว ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์อยู่ห่างจากผนังเซลล์ เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์ เพราะสภาพแวดล้อมภายนอกเซลล์เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าสภาพแวดล้อมภายในเซลล์  น้ำจึงออสโมซิสออกนอกเซลล์ (exosmosis) ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า พลาสโมไลซิส (plasmolysis)

สรุปได้ว่า
สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนกันและบางอย่างที่แตกต่างกัน โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษา ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ในเซลล์พืชมีคลอโรพลาสต์และผนังเซลล์ ในเซลล์บางชนิดที่อายุยังน้อยจะพบการไหลเวียนของไซโทพลาซึม

 

<< Go Back