<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถคำนวณหากำลังขยายของภาพ
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถคำนวณหาขนาดของวัตถุ

1. กล้องจุลทรรศน์
2. ไม้บรรทัดพลาสติกใส

ตอนที่ 1 การคำนวณหากำลังขยายของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ที่นักเรียนใช้
1. อ่านค่ากำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ
2. คำนวณกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์โดยคิดจาก ผลคูณระหว่างกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ
3. วางไม้บรรทัดพลาสติกใสอย่างบางโดยที่ด้านเซนติเมตรอยู่ตรงช่องกลมของแท่นวางวัตถุของกล้องจุลทรรศน์ ปรับให้มองเห็นสเกลชัดเจนด้วยกำลังขยายต่ำ ดังภาพ นับจำนวนมิลลิเมตรจากขอบด้านหนึ่งจนถึงขอบอีกด้านหนึ่งจากภาพที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งก็คือความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ขณะที่ใช้กำลังขยายต่ำ
4. บันทึกค่าที่ได้ในตาราง

ตอนที่ 2 การคำนวณหาขนาดของวัตถุ หรือขนาดของภาพจากล้องจุลทรรศน์
1. การหาขนาดของวัตถุจากกำลังขยายของภาพ
1.1 ถ้าขนาดจริงของพารามีเซียมวัดได้ 100 µm เมื่อนำไปศึกษาดูด้วยกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา 10X และกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ 10X นักเรียนจะเห็นภาพพารามีเซียมมีความยาวเพิ่มขึ้นกี่เท่าและภาพของ พารามีเซียมมีความยาวกี่ cm
1.2 วัตถุมีความยาว 4 µm เมื่อนำมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จะมีความยาวประมาณ 4 mm กล้องนี้มีกำลังขยายเท่าใด

2. การหาขนาดของวัตถุจากเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ
2.1 จากสูตรการหาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ (ขณะศึกษา)

ถ้ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้มีกำลังขยายเป็น 40X 100X และ 400X เมื่อใช้ไม้บรรทัดใสวัดเส้นผ่านศูนย์กลางกำลังขยายต่ำ (40X) ได้ 2.5 mm (2,500 µm) อยากทราบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ เมื่อกำลังขยายของเลนส์เป็น 100X และ 400X เท่ากับเท่าใด

2.2 เมื่อนำสาหร่ายหางกระรอกไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพประมาณ 1.6 mm หรือ 1,600 µm ปรากฏว่ามีเซลล์ของสาหร่ายหางกระรอกเรียงต่อกัน 8 เซลล์ จงคำนวณหาความยาวของเซลล์สาหร่ายหางกระรอก 1 เซลล์

ตอนที่ 1
การคำนวณหากำลังขยายของภาพจากล้องจุลทรรศน์ที่นักเรียนใช้ ผลการทดลองหาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ ค่าที่บันทึกได้ในตารางให้เป็นไปตามขนาดกำลังขยายของเลนส์ที่ใช้ในการปฏิบัติจริงเช่น

ตอนที่ 2
การคำนวณหาขนาดของวัตถุ หรือขนาดของภาพจากกล้องจุลทรรศน์

1. การหาขนาดของวัตถุจากกำลังขยายของภาพ
1.1 นักเรียนเห็นภาพพารามีเซียมมีความยาวเพิ่มขึ้น 10 x 10 = 100 เท่า

1.2

 2. การหาขนาดของวัตถุจากเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ
2.1 สูตร เส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ

แทนค่าสูตร

สรุปผลที่ได้
เนื่องจากเซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ถ้ากล้องจุลทรรศน์มีกำลังขยายสูงจะพบรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการสังเกตมากขึ้น

 

<< Go Back