<< Go Back

ปัญหามลพิษในอากาศ
มนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยที่สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากมีผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหามลพิษ(Pollution) ในสิ่งแวดล้อม
อากาศเป็นสิ่งจำสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ดังนั้นนักเรียนควรตะหนักถึงความสำคัญของอากาศ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของอากาศ สมบัติของอากาศ และเห็นความสำคัญของการคาดการณ์เกี่ยวกับสภาวะอากาศกับการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพ ทั้งสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้
สภาพอากาศกับการดำรงชีวิต
เราทราบว่า อากาศมีความสำคัญต่อชีวิตบนโลก มนุษย์และสัตว์ใช้อากาศในการหายใจ พืชใช้อากาศในการหายใจ และสร้างอาหาร ปรากฏการณ์การณ์ทางลมฟ้าอากาศ บางลักษณะจะส่งผลถึงสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมนุษย์จะต้องศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของลม ฟ้า อากาศอยู่ตลอดเวลา ปรากฏการณ์บางลักษณะของลม ฟ้า อากาศ อาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น การเกิดพายุหมุน การเกิดหมอก การเกิดน้ำท่วม เป็นต้น การศึกษา ติดตาม สังเกตฟังข่าวการพยากรณ์อากาศ และเตรียมป้องกันภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นวิธีที่จะช่วยให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
สภาพอากาศกับสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ป่าไม้อาจถูกทำลาย ความชื้นของอากาศก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งในปัจจุบันนี้เราพบว่า มนุษย์มีส่วนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก การกระทำเหล่านั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพอากาศทั้งสิ้น คือ การทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก
ต้นเหตุของมลพิษ
1. ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารที่ออกจาก รถยนต์ที่สําคัญได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกํามะถัน สารพวกไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ 55 % ออกมาจากทอไอเสีย 25 % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก 20 % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และไน ตรัสออกไซด์ (N2O) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินชนิดซุปเปอร์ยังเพิ่มปริมาณตะกั่วในอากาศอีกด้วย
2. ควันไฟ และก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม - จากโรงงานผลิตสารเคมี ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงผลิตไฟฟ้า โรงงานทําเบียร์ โรงงาน สุรา โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานถลุงแร่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทําแก้ว โรงงานผลิตหลอดไฟ โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงงานผลิตกรด - พลังงานที่เกิดจากสารเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทําให้เพิ่มสาร ต่าง ๆ ในอากาศ อาทิ สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกไซด์ของไนโตรเจน และ กํามะถันในบรรยากาศ
3. แหล่งกําเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณที่กําลังก่อสร้าง โรงงานทําปูนซีเมนต์ โรงงาน โม่หิน โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตโซดาไฟ เหมืองแร่ เตาเผาถ่าน โรงค้าถ่าน เมรุเผาศพ
4. แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ได้แก่ เศษอาหาร และขยะมูลฝอย
5. ควันไฟจากการเผาป่า เผาไร่นา และจากบุหรี่
6. การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกัมมันตรังสี
7. การตรวจและรักษาทางรังสีวิทยา การใช้เรดิโอไอโซโทป ที่ขาดมาตรการที่ถูกต้องในการ ป้องกันสภาวะอากาศเสีย
8. อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่า กัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ความเป็นพิษเนื่องจากสาเหตุข้อนี้ค่อนข้าง น้อยมาก เนื่องจากต้นกําเนิดอยู่ไกล จึงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์ได้น้อย
ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ
1. ทําลายสุขภาพ อากาศเสียทําให้เกิดโรค แพ้อากาศ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรค เกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต ผลที่เกิดในระยะยาวอาจทําให้ถึงตายได้
2. ทําลายสิ่งก่อสร้าง และเครื่องใช้โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ทําด้วยโลหะทําให้เกิดการสึกกร่อน ทําให้หนังสือและศิลปกรรมต่างๆ เสียหาย
3. ทําให้ทัศนวิสัยเลวลง และมีผลทําให้อุณหภูมิอากาศลดต่ำาลงกว่าปกติได้ ทัศนวิสัยเลวลง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งในอากาศ ท้องถนน และท้องน้ำ

 


https://sites.google.com/site/variso12airpollution/payha-mlphis-ni-xakas

    << Go Back