<< Go Back

ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึง กระบวนการสร้างความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดหรือขจัดปัญหาความยากจน การว่างงาน การกระจายรายได้ พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการของสังคมไปในทางที่ดีขึ้น โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสงวนทรัพยากรไว้ตอบสนองความจำเป็นของคนรุ่นต่อไปในอนาคตของการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประชาชน ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีกินดี หรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 2. มีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดี มีสวัสดิการทางสังคม หรือมีความปลอดภัยในสังคม 3. มีความพอใจและความสุขในการดำเนินชีวิต 4.4 สร้างความเป็นธรรมในสังคม
ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะสาเหตุดังนี้
1 การเพิ่มของจำนวนประชากรซึ่งไม่สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย ได้ใช้สินค้าดีราคาไม่แพง และมีบริการสนองความต้องการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เช่น การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีลักษณะผูกขาดโดยคนส่วนน้อย เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม และมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ รัฐสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมได้มากขึ้นอย่างมีคุณภาพ เช่น คนยากจน คนพิการ เด็กกำพร้า คนชรา คนว่างงาน และผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น
3 ระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทยเป็นระบบเปิด คือ ต้องพึ่งทุนและการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งเปิดกว้างรับเทคโนโลยี การสื่อสาร วัฒนธรรม การศึกษา และการปริโภคจากโลกตะวันตกอย่างเต็มที่ ทำให้สังคมไทยต้องเร่งพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกได้ เพื่อมิให้ถูกเอาเปรียบ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วส่งผลให้มีความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร มีกองทัพที่เข้มแข็ง ทำให้ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจหรืออิทธิพลของชาติมหาอำนาจ
4 การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย และภัยจากธรณีพิบัติ (แผ่นดินไหวและสึนามิ) เป็นต้น รวมทั้งการเกิดโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก ไข้เลือดออก ฯลฯ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วส่งผลให้มีความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร มีกองทัพที่เข้มแข็ง ทำให้ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจหรืออิทธิพลของชาติมหาอำนาจ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าจะเกิดผลดีต่อประชาชน คือ
(1) มีมาตรการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสามารถควบคุมวิกฤตจากภัยธรรมชาติให้บรรเทาลงได้
(2) ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงทีและช่วยให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย เช่น มีงบประมาณสร้างเขื่อนประตูระบายน้ำ ศูนย์เตือนภัย และสร้างบ้านที่อยู่อาศัยให้ผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นต้น
5 ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนามีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์พื้นฐาน อันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน ทำให้ขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ และไม่อาจเลือกอาชีพการงานได้ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าส่งผลให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ดี มีกำลังซื้อสูง ทำให้มีอิสระในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เช่นมีอิสระในการเลือกอาชีพตามความถนัดและความสนใจ ทำให้ชีวิตมีสุข

 

 

https://sites.google.com/site/kruchaiyooooo/sersthkic-phx-pheiyng-kab-kar-phathna-sersthkic-thiy/2-kar-phathna-sersthkic-khxng-thiy

    << Go Back