<< Go Back

สาเก หรือขนุนสำปะลอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus altilis; อังกฤษ: Breadfruit, มาลายาลัม: kada-chakkai, ฮาวาย: อุลุ, อินโดนีเซีย: สุกุน ตากาลอก: โคโล) เป็นไม้ผลพื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ต่อมาจึงแพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และปลูกแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน

ลักษณะ
ต้นสาเกมีความสูงเต็มที่ได้ถึง 20 เมตร มียางขาว มีใบใหญ่และหนา ร่องใบลึกถึงก้าน ทุกส่วนของสาเกมียางมีขาวข้น ผลกลมรีคล้ายขนุน แต่ลูกเล็กกว่า เปลือกนอกสีเขียว เนื้อในสีเหลืองซีดหรือขาว มีสองพันธุ์ คือ
พันธุ์ข้าวเหนียว ผลใหญ่ เมื่อสุกเนื้อเหนียว ไม่ร่วน นิยมปลูกเพื่อทำขนม พันธ์ข้าวเจ้า ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่นิยมรับประทาน

การใช้ประโยชน์
ผลสาเกนำไปต้มหรืออบจะได้เนื้อนุ่มเหมือนก้อนแป้ง ใช้ทำขนม เช่น เชื่อม แกงบวด ชาวอินโดนีเซียนำสาเกไปอบกรอบใช้เป็นอาหารว่าง และมีการนำไปป่นเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังกรอบ เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอจำนวนมาก ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน ผลแก่ใช้ทำใช้ทำขนมปัง โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดหรืออบแห้ง ในฟิลิปปินส์นำผลสาเกต้มสุกกินกับน้ำตาลและมะพร้าวขูดฝอย หรือเคลือบน้ำตาลแล้วทำให้แห้ง ใบและผลใช้เป็นอาหารสัตว์[1] ยางสาเกนิยมใช้เป็นชันยาเรือและใช้ดักนก ก้านดอกตัวผู้มีเส้นใยนำมาผสมกับใยปอสาใช้ทอผ้า เปลือกลำต้นมีเส้นใย ใช้ทอผ้าได้เช่นกัน เนื้อไม้ใช้ทำเรือแคนู กระดานโต้คลื่น หีบและลังไม้

ต้นสาเกที่ถูกปลูกไว้ที่ฮาวาย

 


                        https://th.wikipedia.org/wiki/สาเก_(พรรณไม้)

    << Go Back