<< Go Back

                เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ สังเกต เปรียบเทียบรูปร่างของละอองเรณูและจำนวนละอองเรณูของดอกไม้ที่นำมาศึกษาได้

               1. ละอองเรณูจากดอกชนิดต่างๆ เช่น ชบา พลับพลึง ดาวเรือง ต้อยติ่ง กุหลาบ ฯลฯ
                  
               2. จานเพาะเชื้อ หรือบีกเกอร์ขนาด 25 cm3
              
               3. กล้องจุลทรรศน์
              
               4. เข็มเขี่ย
              
               5. ปากคีบ
              
               6. ใบมีดโกน
              

            นำอับเรณูของดอกไม้แต่ละชนิดมาวางบนสไลด์ที่มีหยดน้ำ ใช้ปลายเข็มหมุด หรือเข็มเขี่ยสะกิดให้อับเรณูแตก หรือใช้วิธีเคาะเบาๆ ให้อับเรณูแตกละอองเรณูร่วงสู่หยดน้ำบนสไลด์ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ นำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ บันทึกภาพ

  • ลักษณะรูปร่างละออกเรณู และจำนวนละออกเรณู มีความเหมาะสมในการถ่ายละอองเรณูอย่างไร

ผลการทดลองที่ได้

             ละอองเรณูมีขนาดเล็กและเบา ผิวมีลวดลายต่างๆ ช่วยในการยึดเกาะยอดเกสรเพศเมียได้ดีทำให้มีโอกาสผสมเกสรได้มากขึ้น จำนวนละลองเรณูมีจำนวนมาก เพื่อให้มีโอกาสถ่ายละอองเรณูได้
             สรุปได้ว่า      ลักษณะของละอองเรณูมีความแตกต่างกัน ทั้งขนาด รูปร่าง ลักษณะ และจำนวน เนื่องจากพืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนานมาก จึงมีความหลากหลาย  บางชนิดมีผิวขรุขระ บางชนิดมีหนามหรือปุ่มยื่นออกมา มีความเหนียวชื้นเมื่อตกบนยอดเกสรเพศเมียแล้วจะไม่ปลิวไปตามลม ซึ่งเหมาะสมต่อการถ่ายละอองเรณูไปบนยอดเกสรเพศเมีย จำนวนละอองเรณูส่วนใหญ่มีจำนวนมากกว่าเซลล์ไข่มาก เนื่องจากมีโอกาสน้อยที่จะตกบนยอดเกสรเพศเมียพอดี เพราะบางชนิดต้องถ่ายละอองเรณูข้ามดอกและข้ามต้นซึ่งอยู่ในระยะไกลๆ

<< Go Back