<< Go Back

ใบ เป็นส่วนประกอบของพืชที่มีสีเขียว ทำหน้าที่สร้างอาหาร โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงพืชส่วนใหญ่ มีใบที่แผ่ เป็นแผ่นกว้าง มีสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ ใช้สำหรับในการสังเคราะห์ด้วยแสง (การสร้างอาหารของพืช)

ส่วนประกอบของใบ ดังนี้
1.ก้านใบ เป็นส่วนที่ต่อจากลำต้นไปเส้นใบ
2.แผ่นใบ ลักษณะใบมีสีเขียว รูปร่างต่างๆ กัน
3.เส้นใบ เป็นเส้นใบภายในใบ ทำหน้าที่ลำเลียงสาร
    -พืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีเส้นใบเรียบขนานกัน เช่น ไผ่ หญ้า มะพร้าว
    -พืชใบเลี้ยงคู่ จะมีเส้นใบตรงกลางและมีแขนงแตกออกมาเป็นร่างแห

หน้าที่ของใบ
1.สังเคราะห์ด้วยแสง
2.หายใจ
3.คายน้ำ
4.ทำหน้าที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มีสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิลล์ ใช้สำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง

ชนิดของใบ
จำแนกชนิดของใบตามหน้าที่ ได้เป็น 3 ชนิด
- ใบเลี้ยง ใบแท้ และใบดอก
   จำแนกชนิดของใบตามจำนวนใบที่แยกออกมาจากก้านใบได้เป็น 2 ชนิดคือ ใบเดี่ยว และใบประกอบ
-ใบเดี่ยว คือ ใบที่แตกออกจากก้านใบ หรือกิ่ง ออกมาเป็นใบโดดๆ เพียงใบเดี่ยว
-ใบประกอบ คือ ใบซึ่งประกอบด้วยใบย่อยๆ หลายๆ ใบ ติดอยู่ก้านใบเพียงหนึ่งก้าน

โครงสร้างและหน้าที่ของใบพืช
ใบถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ต่อพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังงานที่ได้มานั้นต้องอาศัยการสังเคราะห์แสงซึ่ง เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ใบของพืช

โครงสร้างของใบ
1. โครงสร้างภายนอกของใบ
ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับ พลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ามีมากกว่าคลอโรฟิลล์จะทำให้ใบมีสีแดงหรือเหลือง
ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลำเลียงสารต่างๆ จากท่อลำเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่เรียงขนานกันจนถึง ปลายใบ พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และเส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย
2. โครงสร้างภายในของใบ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น
1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ออกจากใบ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด
2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น2 ชั้นคือ
1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก
2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์
3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรง เร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์

หน้าที่ของใบ
ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร เรียกว่า “การสังเคราะห์ด้วยแสง” (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทเรียนเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง) นอกจากนี้ยัง ทำหน้าที่คายน้ำทางปากใบอีกด้วย
นอกจากนี้ใบของพืชบางชนิดยังทำหน้าที่อย่างอื่นอีก เช่น ใบตำลึง มะระ และถั่วลันเตา ทำหน้าที่ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เพื่อลดการคายน้ำของใบ เนื่อง จากกระบองเพชรดำรงชีวิตอยู่ในที่แห้งแล้ง ไม่มีน้ำ ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิงทำหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร
ใบว่านหางจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม ทำหน้าที่สะสมอาหาร

 

 

                          https://benjaporn079.wordpress.com/2014/01/03/หน้าที่ของใบ/
                          http://www.kasetkawna.com/article/130/โครงสร้างและหน้าที่ของใบพืช

    << Go Back