<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ ตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายโครงสร้างภายในของลำต้นที่ตัดตามขวางโดยเรียงจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดจนถึงชั้นใน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น อภิปราย และเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น อภิปราย และเปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ระหว่างรากและลำต้น
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมเนื้อเยื่อรากตัดตามขวางเพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์

   
1. เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดต่างๆ เช่น ถั่ว และเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าว หรือ พุทธรักษา

2. ใบมีดโกน

3. สีซาฟรานีน หรือสีผสมอาหารสีแดง ความเข้มข้น 1%
           
4. พู่กัน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ และหลอดหยด

5. สไลด์ และกระจกปิดสไลด์

6. กล้องจุลทรรศน์

นำลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ คือ ถั่วเขียว หมอน้อย และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เพาะไว้ คือ ข้าวโพดข้าว มาทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการศึกษาโครงสร้างภายในของราก เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกัน และศึกษาโครงสร้างภายในที่มีการเจริญเติบโตขั้นแรกจากบริเวณใกล้ยอด หรือบริเวณเหมือนแนวโค้งเมื่อโน้มปลายยอดให้โค้งลง และการเจริญเติบโตขั้นที่สอง จากบริเวณที่อยู่ใต้แนวโค้งหรือบริเวณใกล้โคนต้น

1. นำเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่ และเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมาเพาะในกระบะเพาะชำไว้นานประมาณ 2 สัปดาห์

2. ขุดต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขึ้นมาจากกระบะเพาะไม่ให้รากขาด ตัดรากพืชที่สมบูรณ์มาแช่น้ำประมาณอย่างละ 2-3 ราก

3. ใช้ใบมีดโกนที่คมตัดแบ่งรากบริเวณค่อนไปทางปลายรากให้เป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 3 cm นำไปตัดตามขวางให้ได้แผ่นบาง โดยจับท่อนรากด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้หน้าตัดที่ต้องการตัดอยู่ในแนวระนาบและสูงกว่านิ้วมือเล็กน้อย จับใบมีดโกนที่จุ่มน้ำให้เปียกด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งให้คมมีดอยู่ในแนวระนาบเสมอ จรดใบมีดกับหน้าตัดท่อราก ดึงใบมีดเข้าหาตัว พยายามดึกใบมีดด้วยนิ้วทั้งสองเข้าหาตัวครั้งเดียวเพื่อให้ได้ส่วนของพืชเป็นแผ่นบาง 1 แผ่น ตัดให้ได้หลายๆ แผ่น ห้ามดึงใบมีดหลายๆ ครั้งแบบเลื่อยไม้ ใช้พู่กันแตะชิ้นส่วนของรากที่เฉือนออกมาแล้วแช่ในน้ำสีที่ใส่ในจานเพาะเชื้อ หรือภาชนะอื่นแยกเป็นจานละชนิด

4. ใช้พู่กันเลือกชิ้นส่วนที่บางและสมบูรณ์ซึ่งย้อมสีแล้วจากจำนวน 3-4 แผ่น วางลงบนหยดน้ำบนสไลด์ ระวังอย่างให้มีฟองอากาศอยู่ภายใน เช็ดน้ำที่ล้นตรงขอบกระจกปิดสไลด์ อย่าให้ด้านบนกระจกปิดสไลด์เปียกน้ำ

5. นำสไลด์ไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เริ่มจากกำลังขยายต่ำก่อนเพื่อเลือกศึกษาชิ้นเนื้อเยื่อที่บางและสมบูรณ์ที่สุด แล้วจึงเปลี่ยนเป็นกำลังขยายสูงขึ้นเพื่อศึกษารายละเอียดของโครงสร้างภายในของรากให้ได้มากขึ้น

- เนื้อเยื่อชั้นต่างๆและการจัดเรียงตัวของมัดท่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร
- เปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก และลำต้นว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ทราบได้อย่างไรว่า โครงสร้างตัดตามขวางที่เห็นในกล้องจุลทรรศน์ เป็นส่วนของลำต้นใกล้ยอดหรือใกล้โคนลำต้น

ผลการทดลองที่ได้

ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่มักมีท่อเลียงเรียงเป็นระเบียบเป็นวงโดยมีวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซแลม และโฟลเอ็ม ส่วนลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว คอร์เทกซ์มีอาณาเขตแคบมากแบ่งได้ไม่ชัดเจนเพราะมัดท่อลำเลียงกระจายไปทั่ว และไม่มีวาสคิวลาร์คั่นระหว่าไซเลมและโฟลเอ็ม

เนื้อเยื่อปลายยอดของพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง จะเห็นมัดท่อลำเลียงเป็นกลมๆ เรียงเป็นระเบียบรอบลำต้น แต่ติดสีย้อมไม่ชัดเจน สำหรับเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ทางด้านโคนต้นจะเห็นมัดท่อลำเลียงเรียงเป็นระเบียบและติดสีเห็นได้ชัดเจนมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนนี้มีอายุนานกว่าเนื้อเยื่อส่วนยอดซึ่งมีสารลิกนินมาพอก เมื่อย้อมสีลิกนินจะติดสีได้ชัดเจนกว่าเนื้อเยื่อส่วนยอดที่ไม่มีสารลิกนินมาพอก

สรุปผลได้ว่า เมื่อตัดลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตามขวางจะประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับราก ดังภาพ


โครงสร้างภายในของลำต้นตัดตามขวางระยะที่มีการเจริญเติบโตขั้นแรก

ก. ภาพถ่ายลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ (ถั่วเขียว)
ข. ภาพวาดลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ (ถั่วเขียว)
ค. ภาพถ่ายลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ข้าวโพด)
ง. ภาพวาดลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ข้าวโพด)

สำหรับต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆ คล้ายกับในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่แตกต่างกันตรงที่สะสมแตกต่างกันตรงที่มัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมคั่นระหว่างไซเล็มและโฟลเอ็ม พืชบางชนิด พิธจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้น เรียกว่า ช่องพิธ (pith cavity) พบในบริเวณปล้อง เช่น ลำต้นของหญ้า และไผ่ แต่บริเวณข้อยังคงมีพิธ

 

    << Go Back