<< Go Back

กรดเกลือ/กรดไฮโดรคลอริก HCl
กรดเกลือ หรือเรียกอีกชื่อ กรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นกรดที่มีใช้กันมากในอุตสาหกรรม มีสถานะเป็นของเหลวที่มีค่าความเข้มข้นต่างๆ เช่น กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น และกรดไฮโดรคลอริก 35% และ 37% จัดเป็นกรดแก่ ใช้มากในการผลิตคลอไรด์ อุตสาหกรรมสี ชุบโลหะ ใช้ถลุงแร่เพื่อผลิต ดีบุก และแทนทาลัม, ใช้ในการปรับความเป็นกรด-ด่าง โดยเฉพาะสารที่เป็นด่างให้มีความเป็นกรด ใช้ Hydrolized แป้ง และโปรตีน เพื่อผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ ใช้กัดผิว และทำความสะอาดผิวโลหะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ
ลักษณะเฉพาะ
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยนักเล่นแร่แปลธาตุชื่อ จารเบียร์ เฮย์ยัน มีลักษณะจำเพาะ ดังนี้
1. เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
2. ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
3. เป็นกรดแก่
4. มีมวล 36.46 กรัม/โมล
5. ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
6. จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
7. จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส
การผลิตกรดไฮโดรคลอริก
การผลิตกรดไฮโดรคลอริกได้จากกระบวนการแยกเกลือด้วยไฟฟ้าเซลล์อิเล็กโทรไลต์จนเกิดก๊าซคลอรีน และก๊าซไฮโดรเจนที่แยกตัวออกจากน้ำ ซึ่งสารสองตัวนี้จะทำปฏิกิริยากลายเป็นกรดไฮโดรคลอริกบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์อื่นที่เกิดในกระบวนการนี้ ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ นอกจากนั้นยังสามารถผลิตไดด้วยการละลายก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ในน้ำ
Cl2+H2 = 2HCl
กรดไฮโดรคลอริก 35%
ชื่อทางการค้า ( Trade Name ) : กรดเกลือ 35% น้ำหนัก/น้ำหนัก
ชื่อทางเคมี (Chemical Name) : Hydrochloric acid 35% w/w
สูตรเคมี : HCl
กรดเกลือ 35% เป็นสารละลายใส อาจมีสีเหลือง ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเจือปน มีควันแสบจมูก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับน้ำ ความถ่วงจำเพาะ 1.05 (10% w/w soln, 1.10(20%), 1.15(29.57%), 1.20 (39.11%) ละลายเข้าได้กับน้ำ พร้อมกับเกิดควัน ที่มีกลิ่นแสบจมูก โดยเมื่อเจือจางกรดนี้ 83 ml ด้วยน้ำจนครบ 1 ลิตรจะได้ ~ 1.0 N HCI (pH ~ 0.10)
ประโยชน์ และการนำไปใช้
– ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
– ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย
– ใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
– ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
– ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
– ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง

 

http://www.siamchemi.com/กรดเกลือ/

    << Go Back