<< Go Back

การมีลูกยาก
ภาวะการมีบุตรยาก หรือ ภาวะการมีลูกยาก (Infertility) หมายถึง เมื่อคู่สมรสที่มีความสัมพันธ์ ทางเพศเป็นปกติเป็นเวลา 12-24 เดือนขึ้นไป แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยในระหว่างนี้ไม่มีการใช้การคุมกำเนิดใดๆทั้งสิ้น จากการสำรวจวิจัยคู่สมรส 100 คู่ ที่อยู่กันครบ 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จะมีลูกหรือกำลังตั้งครรภ์ถึง 90 คู่ หรือคิดเป็นร้อยละ 90 เหลือเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ยังไม่มีลูก บางคนอาจ เคยมีลูกมาแล้ว มีความประสงค์อยากจะมีลูกใหม่ และได้พยายามอยู่นานเกิน กว่า 1 ปี ก็ยังไม่สำเร็จ กลุ่มนี้ก็ถือว่ามีอาการภาวะมีลูกยากเช่นกันต้องพิจารณาตรวจหาสาเหตุ และแก้ไขรักษาตามหลักวิชา ซึ่งในปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีแขนงนี้ก้าว หน้าไปไกลมาก
การปฏิสนธิระหว่างเชื้ออสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้กับไข่ซึ่งเป็น เซลล์ สืบพันธุ์ตัวเมียจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เชื้ออสุจิต้องแข็งแรง จำนวนมากพอและเคลื่อนไหวได้ดี ภรรยาต้องมีไข่ซึ่งเกิดจากรังไข่ที่ทำงานได้ อย่างสมบูรณ์ทั้งก่อนและหลังไข่ตก การตกไข่ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเชื้ออสุจิ จะพบกับไข่ที่ท่อนำไข่ ซึ่งต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมไม่เป็นพิษ
ตัวอ่อนที่ได้จากการผสมจะเดินทางในท่อนำไข่เข้าไปยังโพรงมดลูก ซึ่งในระหว่างทางจะแบ่งตัวและเติบโต ใช้เวลาเดินทางในท่อนำไข่ 5-7 วัน ก็ถึง โพรงมดลูกสักระยะหนึ่งและฝังตัวในราววันที่ 7-9 นับแต่วันที่ปฏิสนธิ ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องได้แก่ มูกปากมดลูก ซึ่งต้องมีคุณภาพดี และปริมาณพอเหมาะปากมด ลูก โพรงมดลูก และท่อนำไข่ ไม่มีพยาธิสภาพที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการ เดินทางของตัวอ่อน เช่นเดียวกับสภาพภายในมดลูกต้องไม่มีเนื้องอก เยื่อโพรง มดลูกต้องสมบูรณ์แข็งแรง และต้องหนาพอที่จะรองรับการฝังตัวและเจริญเติบ โตของตัวอ่อนได้
สาเหตุจากฝ่ายชาย
สาเหตุจากฝ่ายชายเท่าที่มีรายงาน ภาวะมีลูกยาก จะพบประมาณร้อย ละ 20-30 ซึ่งสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยการตรวจ วิเคราะห์น้ำอสุจิ เป็นการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ธรรมดา หรือ อาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจหา กรณีที่ผล ออกมาผิดปกติ กรรมวิธีการรักษาจะข้ามขั้นตอนไปทำ "อิ๊กซี่" หรือ "เด็กหลอดแก้ว" จึงไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว
กรณีที่ผลออกมาปกติ ต้องทดสอบคุณสมบัติของตัวอสุจิต่อไป โดยตรวจดูความ สามารถของตัวอสุจิในมูกปากมดลูก ตรวจว่าตัวอสุจิสามารถอยู่รอดและเคลื่อน ไหวในมูกปากมดลูกได้หรือไม่ การทดสอบนี้จะช่วยบอกได้ว่าปัญหาอยู่ที่ปาก มดลูกหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิซึ่ง เป็นสาเหตุ ที่ให้มีบุตรยาก
ปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่ จำนวนสเปิร์มน้อย การเคลื่อนไหวแหวก ว่ายผิดปกติ ท่อนำเชื้อหรือท่อปัสสาวะตีบตัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การติดเชื้อ หรือผิดปกติตั้งแต่กำเนิดในระบบสืบพันธุ์ บางรายพบว่าสาเหตุเกี่ยวข้องกับความ อ้วน ภาวะทุพโภชนา ความเครียด บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีผลต่อความ แข็งแรงของเชื้ออสุจิ
ผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อชนิดขาดฮอร์โมนเพศชาย จะมีปัญหาการมีบุตร ยาก เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Klinefelter's syndrome ซึ่ง โครโมโซมเพศจะมีลักษณะ XXY พัฒนาการของลูกอัณฑะผิดปกติ การสร้างตัว อสุจิลดน้อยลง และระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลง
โรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดปัญหาการมีบุตรยากที่สำคัญได้แก่ โรคหนอง ในแท้ และโรคติดเชื้อคลามัยเดีย ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่พบได้บ่อย การติดเชื้อทำให้ทางเดินน้ำอสุจิเกิดภาวะตีบแคบ และมีผลต่อการสร้างตัวอสุจิ อีกด้วย
สาเหตุจากฝ่ายหญิง
สาเหตุจากฝ่ายหญิงพบได้ประมาณร้อยละ 40-50 การทำงานของ ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อ ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนทำให้ไม่มีการตกไข่ ผนังมดลูกเจริญเติบโตไม่ดี พบท่อรังไข่อุดตัน พังผืด หรือเนื้องอกในมดลูก เยื่อผนังมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการตรวจคุณสมบัติของมูกปากมดลูก เช่นตรวจ ความเป็นกรด-ด่าง การทดสอบหลังมีเพศสัมพันธ์ ตรวจการตกผลึกเป็นรูปเฟิร์น และ การยืดตัวในช่วงไข่ตก รวมทั้งการเพาะเชื้อ เป็นต้น
ตรวจประเมินสภาพของมดลูก โดยการฉีดเข้าโพรงมดลูก การส่อง กล้องเข้าไปดูภายในโพรงมดลูก การเจาะท้องส่องกล้องดูพยาธิสภาพในอุ้งเชิง- กราน การขูดมดลูกเพื่อตรวจสอบการตกไข่ และการทำงานของรังไข่
การตรวจสอบสภาพของปีกมดลูกเพื่อดูว่ามีการอุดตันหรือไม่ โดยการ ฉีดสีเข้าโพรงมดลูกและเอ็กซเรย์ การเจาะท้องส่องกล้องร่วมกับการฉีดสีเข้าทาง ปากมดลูก การฉีดลมผ่านเข้าโพรงมดลูกและให้ผ่านออกทางปีกมดลูก และการ ฉีดของเหลวทางปากมดลูก พร้อมกับตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด เพื่อดูการ ผ่านของของเหลวในปีกมดลูกเข้าไปสะสมที่อุ้งเชิงกรานส่วนต่ำสุด
การประเมินสภาพของรังไข่โดยการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมน (FSH, LH, Estradiol, Progesterone) และติดตามดูอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเป็น ระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีการตกไข่หรือไม่ การทำงานของรังไข่ก่อนและหลังไข่ ตกเป็นอย่างไร อาจตรวจโดยวิธีอ้อม เช่น การวัดอุณหภูมิกายพื้นฐาน การขูดเอา เยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจเพื่อดูการทำงานของรังไข่ภายหลังไข่ตก เป็นต้น
ภาวะมีลูกยากที่หาสาเหตุไม่พบ
ภาวะมีลูกยากที่หาสาเหตุไม่พบ หมายความว่า คู่สามีภรรยาที่มีลูก ยากนั้น ได้ทดสอบทุกวิธีกระบวนการหาสาเหตุเท่าที่จะทำได้แล้ว ไม่พบความผิด ปกติทั้งสองฝ่าย แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสาเหตุจริงๆ บางทีต่อไปเมื่อมีเครื่องมือทด สอบที่ดีขึ้น ก็มีโอกาสค้นหาสาเหตุได้ 10 ปีผ่านมา อุบัติการนี้จะพบประมาณร้อย ละ 10-20 ปัจจุบันในบางสถาบัน อุบัติการได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

 

 

https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/infertility

    << Go Back