<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารอธิบายได้ว่าเหตุใดเมื่อวัตถุอยู่ในบางตำแหน่ง นัยน์ตาไม่สามารถรับภาพของวัตถุได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกได้ว่าบริเวณต่างๆ ของเรตินารับภาพได้ชัดเจนไม่เท่ากัน
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุบริเวณของเรตินาที่รับภาพชัดที่สุด


1. กระดาษขาว

2. ไม้บรรทัด

3. ปากกาหรือดินสอ

ตอนที่ 1 กาหาตำแหน่งของจุดบอด

1. ทำเครื่องหมาย + และ ลงในกระดาษขาวในแนวระดับ ให้มีขนาดและระยะห่างระหว่างเครื่องหมายทั้งสองนี้ 10 cm ดังภาพ

2. หลับตาซ้ายเหยียดมือขวาที่จับกระดาษให้ตรง และยกกระดาษที่มีเครื่องหมาย + ตรงกับนัยน์ตาขวา
3. ให้นัยน์ตาขวาจับนิ่งกับเครื่องหมาย + ตลอดเวลา ค่อยๆ เคลื่อนกระดาษเข้ามาใกล้ตาอย่างช้าๆ จนกระทั่งมองไม่เห็นเครื่องหมาย
4. ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำแต่หลับตาขวาและให้นัยน์ตาซ้ายจับเครื่องหมาย   แทน
- เพราะเหตุใดจึงมองไม่เห็นเครื่องหมายจุด ทั้งๆ ยังมีเครื่องหมายอยู่
- จากการทดลองพอจะบอดได้หรือไม่ว่าจุดบอดอยู่เยื้องไปทางใดของนัยน์ตา

ตอนที่ 2 การหาตำแหน่งของโฟเวีย

ให้นักเรียนยื่นแขนไปข้างหลังเพื่อรับวัตถุที่มีสีสดๆ และระบุสีได้ชัดเจนจากเพื่อน เช่น ดินสอ ปากกา โดยนักเรียนไม่ทราบมาก่อนว่าวัตถุนั้นมีสีอะไร

1. มองตรงข้ามหน้าค่อยๆ เคลื่อนแขนมาข้างหน้าให้อยู่ในระดับสายตา ขณะเคลื่อนแขนมาด้านหน้า มองตรงไปข้างหน้า ห้ามเหลือบวัตถุในมือ เมื่อใดที่นักเรียนเร่มเห็นวัตถุให้บอกสีวัตถุนั้น
- สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วจะอธิบายว่าอย่างไร

ผลการทดลองที่ได้

ตอนที่ 1 กาหาตำแหน่งของจุดบอด
เมื่อผู้ทำการทดลองทดสอบได้ระยะหนึ่ง จะมองเห็นเพียงเครื่องหมายบวก แต่มอไม่เห็นเครื่องหมายจุด แสดงว่าในระยะนั้นเป็นระยะพอดีที่ภาพของเครื่องหมายจุดตำลงที่จุดบอดของนัยน์ตาข้างขวาพอดี
จุดบอดคือ บริเวณที่เส้นประสาทนัยน์ตาต่อเข้ามาในลูกตาและแตกแขนงไปทั่วเรตินาจึงทำให้จุดนี้ไม่สามารถจะรับภาพได้ ถ้าทดลองด้วยนัยน์ตาข้างซ้ายก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน จุดบอดของนัยน์ตาแต่ละข้างจะเยื้องไปทางด้านใกล้จมูก เช่น ลูกนัยน์ตาซ้ายจะมีจุดบอดอยู่ทางด้านขวาของนัยน์ตา

ตอนที่ 2 การหาตำแหน่งของโฟเวีย
สามารถมองเห็นวัตถุครั้งแรกเมื่อวัตถุค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่งของแนวที่ตามอง และสามารถบอกสีได้ชัดเจนเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ใกล้กับแนวมองของตา

สรุปผลการทดลองได้ว่า

ปกติแล้วในชั้นเรตินาจะมีเซลล์รูปแท่ง หนาแน่นกว่าเซลล์กรวยแต่บริเวณตรงกลางของเรตินาที่เรียกว่า โฟเวีย นั้นจะมีเซลล์รูปกรวยหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ดังนั้นแสงที่ตกบริเวณนี้จึงเกิดเป็นภาพได้ชัดเจน ส่วนบริเวณของเรตินาที่มีแต่แอกซอนออกจากนัยน์ตา เพื่อเข้าสู่เส้นประสาทตาจะไม่มีเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอยู่เลย ดังนั้นแสงที่ตกบริเวณนี้จึงไม่เกิดเป็นภาพเรียบบริเวณนี้ว่า จุดบอด

 

    << Go Back