<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการถ่ายทอดธาลัสซีเมียซึ่งเป็นลักษณะด้อย
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุปัญหาและวิธีป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมีย

แผนภาพแสดงการถ่ายทอดลักษณะโรคธาลัสซีเมีย

ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะโรคธาลัสซีเมีย สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ธาลัสซีเมียในประเทศไทย แล้วอภิปราย
ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรคและเป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ดังนี้

ก. ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียวโดยอีกฝ่ายปกติ โอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้

ข. ในกรณีพ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้ง 2 คน โอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้

ค. เมื่อพ่อหรือแม่เป็นโรคเพียงคนเดียว และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้

ผลการทดลองที่ได้
คือ การถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียในแต่ละกรณีสามารถแสดงในรูปเพดดิกรี และโอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย เป็นดังนี้

กำหนดให้

ก. ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรคเลย แต่โอกาสที่ลูกเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือ 50 %

ข. ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้ง 2 คน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 1(25%) และเป็นปกติเท่ากับ 3 ใน 4(75%) และโอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือ 50%

ค. ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นโรคเพียงคนเดียว และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 2 ใน 4 (50%) และเป็นปกติเท่ากับ 2 ใน 4 (50%) โดยทั้งหมดจะเป็นพาหะ

ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งเป็นพาหะและเป็นโรค สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกได้ และโรคธาลัสซีเมียเป็นลักษณะพันธุกรรมที่เป็นลักษณะด้อย เนื่องจากคู่แต่งงานที่เป็นปกติทั้งสองคนนี้มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ (กรณี ข.) นอกจากนี้อัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหรือเป็นพาหะในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์

วิธีป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียทำได้โดยการตรวจสอบประวัติครอบครัวของคู่แต่งงาน ว่ามีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียในครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่คู่แต่งงานจะมีบุตรที่เป็นโรคได้ ปัจจุบันมีเทคนิคในการตรวจสอบคนที่เป็นพาหะของโรคนี้ ดังนั้นคู่แต่งงานควรตรวจสอบว่าตนเป็นพาหะหรือไม่ และปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินมีบุตร

    << Go Back