<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ชนิดต่างๆ ในเขตร้อนและในเขตหนาว
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเหล่านั้น กับการรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด

ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการระบายความร้อนของสัตว์ในเขตร้อน และการป้องกันการสูญเสียความร้อนของสัตว์ในเขตที่มีอากาศหนาวจัด

สัตว์บางชนิด เช่น สุนัขและแมวในเขตร้อน ส่วนมากมีขนสั้นเกรียน จึงสามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดี แต่สุนัขและแมวในเขตหนาวมีขนยาว หนา จึงช่วยกั้นไม่ให้สูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย ในด้านพฤติกรรม สุนัขในเขตร้อนมักแสดงอาการหอบ แลบลิ้น และน้ำลายไหลหยด จึงเป็นวิธีการระบายความร้อนได้ดี แมวมีการเลียอุ้งเท้า ท้อง บ่อยๆ การเลียทำให้บริเวณนั้นเปียกน้ำลาย น้ำลายจะดึงความร้อนมาใช้ในการระเหยของน้ำ จึงช่วยในการระบายความร้อนจากร่างกายทางหนึ่ง พฤติกรรมเช่นนี้พบน้อยกว่ามนสุนัขและแมวที่อาศัยในเขตหนาว

ตัวอย่างอื่นๆ ของโครงสร้างร่างกาย ได้แก่ การมีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนังทำหน้าที่เป็นฉนวนให้แก่ร่างกาย พบใน ปลาวาฬ แมวน้ำ สิงโตทะเล เป็นต้น การที่อูฐที่อาศัยในทะเลทรายซึ่งเป็นเขตร้อนแห้งแล้ง มีผิวหนังหนามาก และขนสีอ่อนๆ ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนออกสู่ภายนอกได้ สำหรับพฤติกรรมอื่นๆ ได้แก่ การหลบซ่อนเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การอาศัยในโพรงดิน ขุดรูอยู่ ในเวลากลางวันของหนูที่อาศัยในทะเลทราย และออกหากินในตอนกลางคืนในเขตขั้วโลก เพื่อหลบเลี่ยงความหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว เป็นต้น

สรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบสัตว์เลือดอุ่นที่อาศัยในเขตร้อนและเขตหนาวแล้วพบว่า นอกจากกลไกของร่างกายแล้ว สัตว์เลือดอุ่นมีโครงสร้างของร่างกาย และพฤติกรรมที่เหมาะสม ช่วยให้สามารถรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกายไว้ได้

    << Go Back