<< Go Back

ไตคืออะไร ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสีย ไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสีย หรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย

ไต มีหน้าที่อะไร
1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน หากของเสียพวกนี้คั่งมากๆจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร หมดสติ และอาเจียน
2. ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ที่เกินความจำเป็นโดยขับออกทางปัสสาวะ
3. ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมนช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่
- Erythropoietinทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง
- Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต
- vitamin Dทำหน้าที่สร้างกระดูก
4. กำจัดยาและสารพิษออกจากร่างกาย

ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร
โรคไตวายเรื้อรังประมาณ2ใน3 จะเกิดโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน และโรคไตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง สาเหตุอื่นคือ
1. เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
2. เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน
3. จางทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว
4. จากโรค SLE จากยาบางชนิด
5. สาเหตุอื่นๆ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง
2. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ
3. ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg%
4. การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงหาสาร creatinin ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137 มิลิลิตรต่อนาที 88-128 มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ
5. การตรวจหา BUN [blood urea nitrogen]ค่าปกติไมเกิน 20 mg%
6. การตรวจเกลือแร่ พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง 15-20 mmol/L Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate ในเลือดสูง
7. การตรวจเพื่อประเมินขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง
1. การตรวจพบว่าเป็นโรคไตตั้งแต่เริ่มๆการรักษาจะชะลอการเสื่อมของไต
2. สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยโรคไตวายคือโรคหัวใจ
3. การวัด Glomerular filtration rate (GFR) จะเป็นตัวที่บอกการทำงานของไต
4. โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดโรคไต ในขณะเดียวโรคไตวายก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
5. การที่ตรวจพบไข่ขาวในปัสสวะแสดงว่าเริ่มเป็นโรคไตแล้ว
 6. กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคไตได้แก่ ผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
7. การทดสอบง่ายๆว่าท่านเป็นโรคไตหรือไม่ได้แก่ การวัดความดันโลหิต การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะและการเจาะเลือด

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=209

    << Go Back