<< Go Back

การต่อหลอดไฟแบบขนาน

การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว โดยกระแสไฟฟ้ารวม ในวงจรเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แยกผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวรวมกัน วงจรขนาน เป็นวงจรไฟฟ้าที่ต่อความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ แต่ละตัวคร่อมกับแหล่งกำเนิดของวงจร ทำให้เกิดการไหลของกรแสไฟฟ้าหลายทาง ผลรวมของกระแสที่จ่ายออกไปจะเท่ากับผลรวมของกระแสที่ไหลในแต่ละส่วนของวงจรรวมกัน และแรงดันที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตัวจะเท่ากัน แม้ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะมีขนาดไม่เท่ากันก็ตาม

การต่อหลอดไฟแบบขนาน
ที่มารูปภาพ : https://sites.google.com/site/jakkrapanrungsriwong/hnwy-thi-5/5-3

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน

1.กระแสไฟฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2.แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3.ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร

ข้อสังเกต

1.การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานเป็นการนำปลายข้างเดียวกันของแต่ละหลอดมารวมกันก่อนแล้วจึงต่อกับเซลล์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านหลอดไฟแต่ละหลอด เมื่อหลอดใดหลอดหนึ่งชำรุดกระแสไฟฟ้าก็ยังสามารถผ่านหลอดอื่นได้ จึงนำการต่อแบบนี้มาใช้ตามบ้านเรือน
2.เมื่อนำหลอดไฟจำนวนเท่ากันมาต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน เพื่อเปรียบเทียบความสว่าง จะได้ว่า การต่อแบบขนานหลอดไฟจะสว่างกว่าแบบอนุกรม จะสังเกตุเป็นได้ว่าลักษณะการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประยุกต์เป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้เหมาะสมเพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

http://my.dek-d.com/dollapa/writer/viewlongc.php?id=499781&chapter=20

<< Go Back