<< Go Back

          เทอร์โมมิเตอร์ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ ซึ่งจะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนตรวจวัดอุณหภูมิและส่วนแสดงผลซึ่งจะแปลงผลการวัดออกมาเป็นค่าที่แสดงถึงอุณหภูมิ ของเทอร์โมมิเตอร์นั้นมีหลายชนิด แต่ที่เราคุ้นเคยกันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ประกอบด้วยกระเปาะของของเหลวดังรูปด้านบน การสร้างเทอร์มอมิเตอร์แบบนี้นั้นอาศัยคุณสมบัติของการขยายตัวของของเหลวหรือแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และหดตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง 

          ของเหลวที่บรรจุในเทอร์โมมิเตอร์นั้นส่วนใหญ่จะใช้ปรอทเพราะปรอทนำความร้อนได้ดี มีการขยายตัวและหดตัวได้รวดเร็ว ทึบแสงและไม่เกาะข้างแก้ว แต่ปรอทเองก็มีข้อจำกัดในการใช้เช่นกัน คือ ผิวที่มันวาวของปรอททำให้มองเห็นได้ยาก แข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และปรอทเป็นสารพิษอาจเกิดอันตรายหากเทอร์โมมิเตอร์เกิดแตกหัก ของเหลวชนิดอื่นที่มีการนำมาใช้แทนปรอท เช่น แอลกอฮอล์ ทั้งนี้เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำมากๆได้ โดยที่ไม่แข็งตัว อีกทั้งแอลกอฮอล์ขยายตัวได้ดีกว่าปรอทถึง 6 เท่า อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำไปใช้ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูงๆได้ เพราะแอลกอฮอล์จะเดือดเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ง่าย

ออในการสร้างเทอร์โมมิเตอร์ มีการกำหนดอุณหภูมิที่ใช้เป็นมาตรฐานในการแบ่งช่องสเกล ดังนี้
          1. จุดเดือด (boiling point) คือ จุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์ท่ีความดัน 1 บรรยากาศ จุดเดือดนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุดควบแน่น
          2. จุดเยือกแข็ง (freezing point) คือ จุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ที่ความดัน 1 บรรยากาศ จุดเยือกแข็งนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุดหลอมเหลว

ชนิดของเทอร์โมมิเตอร์ แบ่งตามหน่วยของอุณหภูมิ
           1. เทอร์โมมิเตอร์แบบเซลเซียส แบ่งสเกลไว้ 100 ช่อง มีจุดเยือกแข็ง 0°C จุดเดือด 100°C
           2. เทอร์โมมิเตอร์แบบฟาเรนไฮต์ แบ่งสเกลไว้ 180 ช่อง มีจุดเยือกแข็ง 32°F จุดเดือด 212°F
           3. เทอร์โมมิเตอร์แบบเคลวิน แบ่งสเกลไว้ 100 ช่อง มีจุดเยือกแข็ง 273 K จุดเดือด 373 K

นอกจากนี้ยังมีเทอร์โมมิเตอร์แบบอื่นๆอีก ดังตัวอย่างต่อไปนี้


เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอล

เทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรด

เทอร์โมมิเตอร์แบบฟิล์ม

เทอร์โมมิเตอร์แบบคู่โลหะ

imath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1117-เทอร์โมมิเตอร์+(thermometer)?groupid=244

<< Go Back