<< Go Back

    ตัวทำละลาย(Solvent) หมายถึงสารที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ของสารละลาย(Solution) และเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่าองค์ประกอบ อีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวถูกละลาย(Solute) ทางวิทยาศาสตร์ สารละลายมีถึง 3 สถานะ คือ ของแข็ง(Solid)ของเหลว(Liquid) และก๊าซ/แก๊ส (Gas) ตัวทำละลายจึงมีสถานะ 3 สถานะเช่นเดียวกัน ซึ่งขอยกตัวอย่างได้ดังนี้

    น้ำเชื่อม: มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีน้ำตาลทรายเป็นตัวถูกละลาย
  • ทองเหลือง: เป็นสารละลายโลหะผสม ระหว่างทองแดงกับสังกะสี แต่ปริมาณทองแดง มีมากกว่าสังกะสี จึงถือว่าทองแดงเป็นตัวทำละลาย
  • อากาศ: เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของก๊าซต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเฉื่อย/แก๊สเฉื่อย/Innert gases(ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณพิตยสถาน พ.ศ 2554 คือ ธาตุที่เป็นแก๊สมีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูล หรือ แก๊สมีตระกูล/Noble gases ก๊าซหายากหรือแก๊สหายาก/Rare gases) และไอน้ำ แต่ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนมากที่สุดจึงถือว่าไนโตรเจนเป็นตัวทำละลาย

อนึ่ง ตัวทำละลายทั้ง 3 สถานะจะทำหน้าที่ละลายหรือเจือจางตัวถูกละลายให้กลมกลืนเป็นสารเนื้อเดียวกัน กรณีของยาน้ำแขวนตะกอน  อย่างเช่น ยาลดกรดที่ต้องเขย่า ขวดก่อนรับประทาน น้ำในสูตรตำรับจะไม่ถือว่าเป็นตัวทำละลายเพราะรูปลักษณะยาลดกรดไม่ใช่สารเนื้อเดียวกัน และเมื่อตั้งทิ้งไว้เราจะเห็นตัวยาตกตะกอน ลงมาและมีของเหลวส่วนบนคือน้ำ

        http://haamor.com/th/ตัวทำละลาย/

<< Go Back