<< Go Back

1. ทดลองและอธิบายสมบัติของสารเมื่อเกิดสารใหม่
2. วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ และสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป
3. อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับการเกิดสารใหม่ที่ให้ประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1. ขวดปากแคบ

2. ช้อนตวงเบอร์ 1 และช้อนตวงเบอร์ 2

3. บีกเกอร์ขนาด 50 cm3

4. หลอดทดลองขนาดกลาง

5. หลอดหยด

6. ที่ตั้งหลอดทดลอง

7. กระบอกหรือกล่องพลาสติกที่มีฝาปิด (สำหรับเตรียมน้ำปูนใส)

8. แท่งแก้วคน

9. ลูกโป่ง

10. น้ำส้มสายชู

11. ผงฟู

12. จุนสี

13. แอมโมเนียหอม (ยาสามัญประจำบ้าน)

14. ปูนขาว (สำหรับทำน้ำปูนใส)

15. ปุ๋ยแอมโมเนีย (แอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมโมเนียมไนเตรต)

ตอนที่ 1
1. รินน้ำส้มสายชูลงในขวดปากแคบให้สูงประมาณ 2 เซนติเมตร
2. ตักผงฟู 2 ช้อนเบอร์ 2 ใส่ลงในลูกโป่งแล้วน้ำลูกโป่งไปครอบที่ปากขวดโดยไม่ให้ผงฟูตกลงในขวด
3. ยกลูกโป่งให้ผงฟูตกลงในขวด สังเกตการเปลี่ยนแปลงบันทึกผล

ตอนที่ 2
1. ตักจุนสี 1ช้อนเบอร์ 1 ใส่ลงในหลอดทดลองที่มีน้ำอยู่ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วคนให้ละลาย
2. แบ่งสารละลายในข้อ 1 เป็น 2 หลอดเท่าๆ กันหยดสารละลายแอมโมเนียหอมลงในหลอดที่ 2 ประมาณ 20 หยดคนให้เข้ากัน เปรียบเทียบสีของสารในหลอดที่ 2 กับหลอดที่ 1 บันทึกผล

ตอนที่ 3
1. หยดสารละลายผงฟูลงในหลอดทดลอง 20 หยด
2. หยดน้ำปูนใสลงไปอีก 20 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลง และบันทึกผล

ตอนที่ 4
1. ตักปุ๋ยแอมโมเนียและปูนขาวอย่างละ 2 ช้อนเบอร์ 2 ใส่ในบีกเกอร์ใบเดียวกัน
2. ใช้แท่งแก้วคนให้ทั่วเพื่อให้สารทั้งสองผสมกัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงทันทีและบันทึกผล

ตอนที่ การทำกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
1 ยกลูกโป่งให้ผงฟูตกลงไปในขวดที่มีน้ำส้มสายชู มีฟองแก๊สเกิดขึ้นในขวดลูกโป่งที่ครอบปากขวดพองขึ้น
2 หยดสารละลายแอมโมเนียหอมลงในสารละลายจุนสี มีตะกอนสีฟ้าเกิดขึ้นในตอนแรกเมื่อหยดสารละลายแอมโมเนีย  ต่อไปอีกได้เป็นตะกอนสีน้ำเงิน
3 หยดน้ำปูนใสลงในสารละลายผงฟู มีตะกอนสีขาวเกิดขึ้นเล็กน้อย เมื่อหยดน้ำปูนใสต่อไปอีก เกิดตะกอนสีขาวเพิ่มขึ้น
4 ผสมปุ๋ยแอมโมเนียกับปูนขาวเข้าด้วยกัน มีกลิ่นฉุนเกิดขึ้นที่ก้นบีกเกอร์เย็นลงและมีหยดน้ำเล็กๆ เกาะอยู่

สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ทำให้ได้สารชนิดใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม และไม่สามารถทำให้กลับเป็นสารเดิมโดยวิธีง่ายๆ ได้ การเกิดสารใหม่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดสารใหม่ สังเกตได้จากการเกิดฟองแก๊สการเกิดตะกอน การเปลี่ยนสีของสาร การเกิดกลิ่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบางปฏิกิริยาอาจมีแสงหรือเสียงด้วย


<< Go Back