<< Go Back

ตัวทำละลาย
          ตัวทำละลาย (อังกฤษ: solvent) เป็นของเหลวที่สามารถละลาย ตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้เป็น สารละลาย ตัวทำละลายที่คุ้นเคยมากที่สุดและใช้ในชีวิตประจำวันคือน้ำ สำหรับคำจำกัดความที่อ้างถึง ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) จะหมายถึงตัวทำละลายอีกชนิดที่เป็น สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) และมี คาร์บอน อะตอมอยู่ด้วย โดยปกติตัวทำละลายจะมี จุดเดือด ต่ำ และระเหยง่าย หรือสามารถกำจัดโดย การกลั่นได้ โดยทั่วไปแล้วตัวทำละลายไม่ควรทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย คือ มันจะต้องมีคุณสมบัติ เฉื่อย ทางเคมี ตัวทำละลายสามารถใช้ สกัด (extract) สารประกอบที่ละลายในมันจากของผสมได้ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ การต้ม กาแฟ หรือ ชา ด้วยน้ำร้อน ปกติตัวทำละลายจะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ความเข้มข้นของสารละลายคือจำนวนสารประกอบที่ละลายในตัวทำละลายในปริมาตรที่กำหนด การละลาย (solubility) คือจำนวนสูงสุดของสารประกอบที่ละลายได้ในตัวทำละลาย ตามปริมาตรที่กำหนดที่ อุณหภูมิ เฉพาะ
ตัวทำละลายอินทรีย์ใช้ประโยชน์ทั่วไปดังนี้
              - ซักแห้ง (dry cleaning) เช่น เตตราคลอโรเอทิลีน (Tetrachloroethylene)
              - ใช้เจือจางสี (paint thinner) เช่น โทลูอีน (toluene) น้ำมันสน(turpentine)
              - ยาล้างเล็บและตัวทำละลายกาว เช่น อะซิโตน เมทิลอาซีเทต เอทิลอาซีเทต )
              - สารกำจัดคราบที่เป็นจุด เช่น เฮกเซน(hexane) ปิทรอลอีเทอร์(petrol ether)
              - สารชำระล้างs เช่น ซิตรัส (citrus) เทอร์ปีน(terpene)
              - น้ำหอม เช่น เอทานอล
              - เคมีสังเคราะห์



            https://th.wikipedia.org/wiki/ตัวทำละลาย

<< Go Back