<< Go Back

อวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้รับอาหาร ออกซิเจน และ สารอาหารอื่น ๆ ได้นั้น เพราะมีเลือดเป็นผู้ขนส่งไป โดยเลือด จะนำอาหารเหล่านั้นไปได้ต้องอาศัยหลอดเลือดเป็นทางเดิน ซึ่งมีหัวใจทำหน้าที่เป็นเครื่องสูบฉีดให้เลือดไหลไปในหลอดเลือด หลังจากร่างกายใช้อาหารไปแล้วย่อมมีของเสียเกิดขึ้น ซึ่งเลือดจะเป็นผู้นำไปสู่อวัยวะที่ทำหน้าที่ขับถ่ายต่อไป

แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. หลอดเลือดแดง (Arteries) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดที่ฟอกแล้ว ออกจากหัวใจยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เลือดแดงเป็นเลือดที่ออกชิเจนมาก ยกเว้นหลอดเลือดที่ส่งไปยังปอดหลอดเลือดแดงมีผนังหนาและแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันสูงที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ
2. หลอดเลือดดำ (Veins) เป็นหลอดเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ โดยเลือดในส่วนนี้จะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มาก ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดมาจากปอดมายังหัวใจ จะเป็นเลือดแดง หลอดเลือดฝอย(Capillaries) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียดมีอยู่จำนวนมากในร่างกาย

ภาพแสดงลักษณะของหลอดเลือดแดง (Arteries) ภาพแสดงลักษณะของหลอดเลือดดำ (Veins)

3. หลอดเลือดฝอย ประกอบด้วยเชลล์ชั้นเดียว หลอดเลือดฝอยมีอยู่เกือบทุกส่วนในร่างกาย และมีจำนวนมากบริเวนผนังของเลือดฝอยเป็นบริเวรที่การแลกเปลี่ยนสารอาหาร แก๊สต่างๆ ระหว่างเลือดกับเชลล์ของร่างกาย

ภาพแสดงลักษณะของหลอดเลือดฝอย

http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/sec01p06.html
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/Circulatory/program/unit1/p3_1.html

<< Go Back