<< Go Back

สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการสูงสุด จึงเรียกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะว่าในเพศเมียจะมีต่อมน้ำนมเพื่อผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน เราสามารถแบ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตามลักษณะของการออกลูกและเลี้ยงลูกได้ 3 กลุ่ม คือ

พวกนี้จะวางไข่เหมือนสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีเปลือกแข็งหุ้ม พบว่ามีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ ตุ่นปากเป็ดและตัวกินมด ซึ่งเป็นสัตว์พบเฉพาะออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น ภายหลังตัวอ่อนออกจากไข่ แล้วกินนมจากแม่เพื่อเจริญเติบโตต่อไป


ตุ่นปากเป็ด

ตัวกินมด

พวกนี้จะมีถุงบริเวณหน้าท้องไว้สำหรับเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งมีขนาดเล็กมาก เพราะมดลูกของสัตว์กลุ่มยังไม่พัฒนาดีนัก จึงทำให้ลูกเจริญเติบโตภายในมดลูกได้เพียงระยะสั้นๆ แล้วต้องให้ตัวอ่อนมาเจริญอยู่ภายในถุงบริเวณหน้าท้อง ได้แก่ จิงโจ้ หมีโคอาล่า และวัลลาบี ( คล้ายจิงโจ้แต่มีขนาดเล็กกว่า ) ซึ่งพบเฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น


จิงโจ้

หมีโคอะลา

วัลลาบี

พวกนี้จะมีมดลูกที่พัฒนาดี โดยมีการสร้างรกเชื่อมระหว่างถุงหุ้มตัวอ่อนกับผนังมดลูกของแม่ ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างแม่กับตัวอ่อนรวมทั้งอาหารต่างๆ จากแม่ก็จะถูกส่งไปยังตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในมดลูก โดยผ่านทางรก ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในมดลูกของแม่จนสมบูรณ์เต็มที่ จึงคลอดออกมาและดูดกินนมจากแม่อีกระยะหนึ่งจนโตพอที่จะดำรงชีวิตได้เอง ได้แก่ คน ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว หมู เสือ สิงโต หมี
ลักษณะที่สำคัญ มีขนลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ปกคลุมลำตัว ตัวเมียมีต่อมผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 4 ห้อง มีแขน ขา ไม่เกิน 2 คู่ ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นบางชนิดออกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด บางชนิดยังอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬปลาโลมา ปลาพะยูน บางชนิดบินได้ เช่น ค้างคาว
การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยมีการปฏิสนธิภายในร่างกายตัวเมีย ส่วนตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกของแม่จนคลอดออกมาเป็นตัว ยกเว้นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว เพราะสัตว์พวกนี้ไม่มีมดลูก และพวกที่มีมดลูกไม่พัฒนาดีนักพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น เสือ กระรอก สิงโต


เสือ

กระรอก

สิงโต

ที่มา : https://sites.google.com/site/praphethkhxngsatw/satw-thi-mi-kraduk-san-hlang/satw-thi-mi-kraduk-san-hlang/satw-leiyng-luk-dwy-nanm

<< Go Back