<< Go Back

การปฏิสนธิภายในร่างกาย หมายถึง เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (อสุจิ)) เข้าไปผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) ภายในร่างกาย ของสัตว์เพศเมีย หลังจากนั้นไข่ที่ผสมแล้วก็จะเจริญเติบโตในร่างกายของสัตว์เพศเมีย ทำให้สัตว์เพศเมียตั้งท้อง และเมื่อท้องแก่จนได้ระยะเวลาคลอดก็จะออกลูกมาเป็นตัวมีลักษณะเหมือนเผ่าพันธุ์เดิม

สัตว์ที่มีการปฏิสนธิ ภายในร่างกาย และคลอดลูกออกมาเป็นตัว ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น คน แมว สุนัข ช้าง ม้า วัว ควาย ปลาวาฬ ปลาโลมา เป็นต้น

แต่สัตว์บางชนิดออกลูกเป็นไข่ ที่มีเปลือกแข็ง หรือไข่ที่มีเปลือกเหนียวหุ้ม มีการปฏิสนธิภายในแต่ออกไข่แล้วฟักเป็นตัวภายนอกร่างกายของสัตว์ตัวเมีย ได้แก่ สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ ห่าน สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จระเข้ เต่า งูบางชนิด เป็นต้น

การปฎิสนธิภายนอกร่างกาย หมายถึง การที่เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (อสุจิ) เข้าผสมกับเซลล์ สืบพันธุ์ ตัวเมีย (ไข่) ภายนอกร่างกายของสัตว์ตัวเมีย โดยมีน้ำเป็นตัวกลางช่วยพาให้อสุจิเคลื่อนที่เข้าไป ผสมกับไข่ หลังจากนั้นไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะฟักเป็นตัวต่อไป การปฏิสนธิภายนอกร่างกายจะพบในสัตว์น้ำ จำพวกปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
การปฏิสนธิเป็นหลักใหญ่ที่เป็นการสืบพันธ์โดยการใช้เพศ เป็นกระบวนการที่นำไข่และสเปิร์มเข้าไว้ด้วยกัน สัตว์ที่ไม่มีการเคลื่อนที่โดยทั่วไปส่งไข่และสเปิร์มไปอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยหวังว่าตำแหน่งที่ตั้งของทั้งสองมีโอกาสที่จะมารวมกันได้ เรียกการทำแบบนี้ว่า Spawning หรือมีที่วางไข่ และปล่อยสเปิร์ม ดังเช่นในสัตว์ เช่น พวกหอย (Oysters) และแม้แต่ในปลาซัลมอน (Salmon)

การปฏิสนธิภายนอก จะไม่เกิดบนบก เพราะอสุจิไม่สามารถว่ายไปหาไข่ได้ สัตว์บกส่วนใหญ่รวมทั้งมนุษย์ (และสัตว์อีกจำนวนมาก) ใช้การปฏิสนธิภายในซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ตัวผู้จะปล่อยอสุจิเข้าไปภายในร่างกายของตัวเมียทางองคชาติ
สัตว์บางชนิด เช่น กบ ก็ใช้การปฏิสนธิแบบภายนอกด้วยเช่นกัน แต่อัตราการเสี่ยงของการสูญหายของไข่ และอสุจิมีน้อยกว่า เนื่องจากตัวผู้จะเกาะติดหลังตัวเมียจนกระทั่งไข่ถูกปล่อยออกมา แล้วตัวผู้จะหลั่งอสุจิ ไปบนไข่หลังนั้น


ที่มา : http://www.thaiedu.net/wbi/animal_live/menu_4_4_3.htm
http://www.thaigoodview.com/library/contest1/health03/05/2/contents/born03.html

<< Go Back