<< Go Back

ราก คือ อวัยวะของพืชที่ตามปกติจะอยู่ใต้ระดับผิวดิน ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและธาตุอาหารในดินเข้าไปสู่ภายในพืช และช่วยค้ำจุนหรือยึดส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินให้ทรงตัวอยู่ได้ โดยเกิดมาจาก เรดิเคิล ของ เอ็มบริโอ ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด รากที่เปลี่ยนแปลงมาจากเรดิเคิล จัดเป็นรากที่เจริญเติบโตนขั้นเเรก ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงคู่หรือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด จะมีการเจริญเติบโตขั้นที่ 2

1. ค้ำจุนส่วนต่างๆ ของพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ (anchorage)
2. ดูดเเละลำเลียงน้ำ
3. หน้าที่อื่นๆ ตามลักษณะของราก เช่น สะสมอาหาร ยึดเกาะ หายใจ เป็นต้น

รากแบ่งตามกำเนิดของรากแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. รากแก้ว (Root tap)
2. รากแขนง (Lateral root)
3. รากวิสามัญ (Adventitious root)
1. รากแก้ว (Root tap หรือ Primary root) มีลักษณะตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลาย จะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆ ที่แยกออกไป ทำหน้าที่เป็นหลักรับส่วนอื่นๆ ให้ทรงตัวอยู่ได้รากชนิดนี้พบในพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกจากเมล็ด โดยปกติส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกออกจากเมล็ดใหม่ๆ ก็มีรากระบบนี้เหมือนกันแต่มีอายุได้ไม่นานก็เน่าเปื่อยไป แล้วเกิดรากชนิดใหม่ขึ้นมาแทน คือ รากฝอย (Fibrous root)

2. รากแขนง (lateral root หรือ branch root หรือ Secondary root) เป็นรากที่เจริญเติบโตออกมาจาก รากแก้ว มักงอกเอียงลงไปในดินจนเกือบขนานหรือขนานไปกับพื้นดิน รากชนิดนี้อาจแตกแขนงออกเป็นทอดๆ ได้อีกเรื่อยๆ ทั้งรากแขนงและแขนงต่างๆที่ยื่นออกไปเป็นทอดๆต่างกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเพริไซเคิลในรากเดิมทั้งสิ้น

3. Adventitious root หรือรากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้กำเนิดมาจากรากแก้วหรือรากแขนง รากชนิดนี้อาจแตกออกจากโคนต้นของพืช ตามข้อของลำต้นหรือกิ่ง ตามใบหรือจากกิ่งตอนของไม้ผลทุกชนิด แยกเป็นชนิดย่อยได้ตามรูปร่างและหน้าที่ ได้ดังนี้
3.1 รากฝอย ( fibrous root )
3.2 รากค้ำจุน (Prop root)
3.3 รากเกาะ (Climbing root)
3.4 รากสังเคราะห์แสง (Photosynthetic root)
3.5 รากหายใจ (Respiratory root)
3.6 รากกาฝาก (Parasitic root)
3.7 รากสะสมอาหาร (Parasitic root)
3.1 รากฝอย (fibrous root) เป็นรากเส้นเล็กๆ มากมาย ขนาดโตสม่ำเสมอกันไม่ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว งอกออกจากรอบโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อเสียไปหรือที่หยุดเติบโต พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่

3.2 รากค้ำจุน (Prop root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น ที่อยู่ใต้ดิน และเหนือดินขึ้นมาเล็กน้อย และพุ่งแทงลงไปในดิน เพื่อพยุงลำต้นเอาไว้ไม่ให้ล้มง่าย เช่น รากค้ำจุนของต้นข้าวโพด , ต้นลำเจียก , ต้นโกงกาง

3.3 รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นแล้วมาเกาะตามหลักหรือเสา เพื่อพยุงลำต้นให้ติดแน่นและชูลำต้นขึ้นที่สูง เช่น รากของพลู , พลูด่าง , กล้วยไม้

3.4 รากสังเคราะห์แสง (photosynthtic root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น แล้วห้อยลงมาในอากาศ มีสีเขียวของคลอโรฟิล เป็นรากที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เช่น รากกล้วยไม้ที่มีสีเขียวเฉพาะรากอ่อน หรือปลายรากที่แก่เท่านั้น รากของไทร โกงกาง มีสีเขียวเฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศ ส่วนที่ไซลงไปในดินแล้วไม่มีสีเขียวเลย


3.5 รากหายใจ (Respiratory root) รากพวกนี้เป็นแขนงงอกออกจากรากใหญ่ที่แทงลงไปในดินอีกทีหนึ่ง แต่แทนที่จะงอกลงไปในดิน กับ ชูปลายขึ้นมาเหนือดินหรือผิวน้ำ บางทีก็ลอยตามผิวน้ำ เช่นรากของแพงพวยน้ำ

3.6 รากกาฝาก (Parasitic root) เป็นรากของพืชบางชนิดที่เป็นปรสิต เช่นรากของต้นกาฝาก และต้นฝอยทอง

3.7 รากสะสมอาหาร (storage root) เป็นรากที่ทำหน้าที่ในการสะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล หรือ โปรตีนเอาไว้ ทำให้มีลักษณะอวบอ้วนเรามักเรียกว่า หัว เช่น หัวแครอต หัวผักกาด หัวมันเทศ หัวมันแกว มันสำปะหลัง กระชาย เป็นต้น รากสะสมอาหารของพืช อาจเกิดจากรากแก้วสะสมอาหาร

ที่มา : http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root03.html

<< Go Back