<< Go Back

 
1. สามารถบอกความหมายของการจมและการลอยได้
2. เพื่อฝึกทักษะการสังเกตและสำรวจ การจมและการลอย ของวัตถุได้
3. สามารถคาดคะเนและทดลองการจมการลอยของวัตถุ
4. ลงความเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุได้

      
1. ดินน้ำมัน

2. กะละมัง

3. คลิปหนีบกระดาษ

 


1. นำดินน้ำมันมาแบ่งเป็น 2 ก้อนเท่าๆ กัน
2. นำดินน้ำมันก้อนที่ 1 มาปั้นให้เป็นรูปกระบะ โดยปิดขอบให้สนิทไม่มีรอยรั่ว
3. นำกระบะดินน้ำมันที่ปั้นขึ้นมา และนำดินน้ำมันอีกก้อนที่ไม่ได้ปั้น ไปลอยในกะละมังที่มีน้ำอยู่ สังเกตผลการทดลอง
4. นำคลิปหนีบกระดาษหย่อนลงไปในกระบะดินน้ำมัน แล้วนำจำนวนคลิปที่ใส่ลงไปจนกระทั่งกระบะจม บันทึกผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

วัตถุที่ใช้ทดลอง ผลที่เกิดขึ้น
1. ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปกระบะ
2. ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อน

 

เมื่อหย่อนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ลงในอ่างน้ำ ดินน้ำมันจะจม แต่ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปกระบะ ปรากฏว่าดินน้ำมันสามารถลอยน้ำได้ แต่เมื่อนำคลิปหนีบกระดาษใส่ไปในกระบะเรื่อยๆ จนวัตถุมีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของวัตถุมากขึ้นด้วย จนถึงระดับที่ความหนาแน่นของวัตถุมากกว่าความหนาแน่นของน้ำ ก็จะทำให้วัตถุนั้นจม โดยสูตรที่ใช้คำนวณความหนาแน่นของวัตถุ คือ

ρ คือ ความหนาแน่นของวัตถุ (หน่วยกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
m คือ มวลรวมของวัตถุ (หน่วยกิโลกรัม)
V คือ ปริมาตรรวมของวัตถุ (หน่วยลูกบาศก์เมตร)
            สรุปได้ว่า การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้เรียกว่า “แรงลอยตัว” ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุนั้นมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยน้ำได้


 

<< Go Back