<< Go Back

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ในลักษณะต่างๆ
1) การตอบสนองเมื่อได้รับแสงเป็นสิ่งเร้า สัตว์บางชนิดสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับแสง เช่น
           - การหรี่ตาเมื่อได้รับแสงสว่างมากเกินไป
           - การที่แมลงต่างๆ บินเข้าหาแสงสว่าง
           - เมื่อเกิดสุริยุปราคา นกจะบินกลับรัง เนื่องจากมีสภาพคล้ายเวลาพลบค่ำ
           - การหนีแสงของไส้เดือนดิน แมลงสาบ
           - การให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่กินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้เจริญเติบโตเร็วในระยะเวลาสั้นกว่าปกติ
           - สัตว์บางชนิดออกหาอาหารในเวลาที่เริ่มมีแสงสว่าง เช่น การที่นกบินออกจากรังในตอนเช้า และบินกลับในเวลาเย็น
           - ไก่ขันบอกเวลาในตอนเช้า แต่ก็มีสัตว์บางชนิดจะออกหาอาหารในเวลาที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น นกฮูก ค้างคาว นกเค้าแมว หนูชะมด อีเห็น เริ่มออกหาอาหารในเวลากลางคืน
2) การตอบสนองเมื่อได้รับอุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า สัตว์จะดำรงชีวิตในสภาวะที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไปสิ่งมีชีวิตจะมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัย และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม การตอบสนองเมื่ออากาศร้อนหรือมีอุณหภูมิสูง
           - สุนัข วัว ควาย แกะ จะระบายความร้อนโดยการหอบเพื่อให้น้ำระเหยออกทางปาก
           - แมว กระต่าย จิงโจ้ จะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า และการระเหยของน้ำลายจะพาความร้อนออกไป
           - ควายจะหนีร้อนด้วยการแช่ในแอ่งน้ำ
           - สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะหลบร้อนอยู่ตามโพรงไม้ หรือในที่ร่ม
การตอบสนองเมื่ออากาศเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ
           - นกบางชนิด เช่น นกนางแอ่นบ้าน และนกปากห่าง ที่อาศัยอยู่แถบไซบีเรียจะอพยพย้ายถิ่นมายังไทย
           - สัตว์บางชนิด เช่น กระรอกลาย หมี สกังค์ ดอร์เม้าส์จะหนีอากาศหนาวด้วยการจำศีล
           - สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะนอนผึ่งแดด
           - หมีในเขตหนาวจะมีขนหนาปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น
3) การตอบสนองเมื่อได้รับน้ำเป็นสิ่งเร้า เมื่อสภาพแวดล้อมมีปริมาณน้ำไม่เหมาะสม สัตว์บางชนิดจะปรับตัวให้เหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
           - ไส้เดือนจะเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น เนื่องจากไส้เดือนหายใจโดยใช้ผิวหนังจึงจำเป็นที่ผิวหนังจะต้องชุ่มชื้นตลอดเวลา
           - น้ำทำให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ออกหากินในเวลากลางคืน เพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ
           - สัตว์ทะเลทรายจะออกหากินในเวลากลางคืนเพื่อลดการสูญเสียน้ำ
4) การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า สัตว์จะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ดังนั้นเมื่อได้รับการสัมผัสระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน และแสดงอาการตอบสนองสิ่งเร้าได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
           - อึ่งอ่างเมื่อได้รับการสัมผัสจะพองตัว
           - กิ้งกือจะขดหัวเข้าด้านในเมื่อถูกสัมผัส
           - หอยชนิดต่างๆ จะหุบฝาหรือหดตัวเข้าในเปลือก
5) การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับเสียงเป็นสิ่งเร้า สัตว์จะมีประสาทที่สำหรับรับเสียงซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่สำคัญ เช่น
           - แม่ไก่จะส่งเสียงร้องเรียกให้ลูกหลบมาซุกใต้ปีกเมื่อศัตรูเข้ามาใกล้
           - โลมา และค้างคาวสามารถส่งเสียงไปกระทบวัตถุแล้วรับเสียงสะท้อนกลับ เป็นการกำหนดสถานที่ของวัตถุ หรือแหล่งอาหาร เป็นต้น
6) การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับกลิ่นเป็นสิ่งเร้า สัตว์หลายชนิดใช้กลิ่นเป็นเครื่องมือในการหาอาหาร หาคู่ผสมพันธุ์ เตือนภัยหรือกำหนดอาณาเขต เช่น
           - ปัสสาวะของหนูเพศผู้ที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไปจะสามารถกระตุ้นให้หนูเพศเมียพร้อมที่จะรับการผสมพันธุ์
           - สุนัขปัสสาวะทิ้งไว้ตามจุดต่างๆ เป็นระยะๆ เพื่อแสดงอาณาเขตหรือทางเดิน
           - กระต่ายปัสสาวะรดสมาชิกทุกตัวในครอบครัวเพื่อจะได้จดจำกันไว้
           - การจำกลิ่นของพวกเดียวกันพวกผึ้ง
           - การเดินตามรอยกลิ่นของพวกมด
7) การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับความเครียดเป็นสิ่งเร้า ถ้าสัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายภาวะทุพโภชนาการหรือฝูงสัตว์ที่มีขนาดใหญ่เกินไปสามารถทำให้สัตว์เกิดความเครียดได้ ทำให้สัตว์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น พฤติกรรมการต่อสู้หรือพฤติกรรมการอพยพย้ายถิ่น เป็นต้น

 

       https://sites.google.com/site/siteskoota/1-kar-txb-snxng-tx-sing-rea-khxng-satw/1-2

<< Go Back