<< Go Back

          ใบเดี่ยว (simple leaf) ใบที่มีตัวใบแผ่นเดียว เช่น ใบน้อยหน่า มะม่วงชมพู่ พืชบางชนิดตัวใบเว้า โค้งไปมา จึงทำให้ดูคล้ายมีตัวใบหลายแผ่นแต่บางส่วนของตัวใบยังเชื่อมกันอยู่ถือว่าเป็นใบเดี่ยว เช่น ใบมะละกอ ใบฟักทอง ตัวใบมักติดกับก้านใบ ถ้าใบที่ไม่มีก้านใบเรียก sessile leavesเช่นบานชื่น

          ใบประกอบ (compound leaf) ใบที่มีตัวใบหลายแผ่นติดอยู่กับก้านใบเดียว เช่น ขี้เหล็ก ใบจามจุรี ใบย่อย เรียกว่า leaflets ใบประกอบจะมีตาที่ซอกใบที่ติดกับลำต้นเท่านั้น (แต่ส่วนที่เป็นก้านใบย่อยจะไม่พบตา)ใบประกอบยังสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้
Pinnately compound leaf (ใบประกอบแบบขนนก) ใบที่ประกอบด้วยหลายใบย่อย (leaflets) แต่ละใบย่อยมีก้านใบย่อย (petiolule) ออกจากแกนกลาง (rachis) เป็นคู่ๆ คล้ายขนนก

ใบมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ คือ
             1.สังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
             2. แลกเปลี่ยนแก๊สหรือการหายใจ (Respiration)
             3. คายน้ำ (Transpiration)

ใบที่เปลี่ยนรูปร่างไปทำหน้าที่อื่นๆ
             1. เปลี่ยนเป็นมือเกาะ (Tendril) เพื่อค้ำจุนลำต้น เช่น ถั่วลันเตา
             2. แพร่พันธุ์ เช่น ต้นเศรษฐีพันล้าน
             3. เปลี่ยนเป็นหนาม เพื่อช่วยป้องกันลำต้น เช่น กระบองเพชร
             4. สะสมอาหารและน้ำ เช่น ว่านหางจระเข้
             5. ใบประดับสำหรับล่อแมลง ช่วยในการผสมพันธุ์
             6. เปลี่ยนเป็นใบเกล็ดเล็กๆ เพื่อลดการคายน้ำ เช่น สนทะเล กระบองเพชร
             7. ป้องกันใบอ่อน เช่น เกล็ดหุ้มตา
             8. ดักจับแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง

 

                 http://www.rajsima.ac.th/downloads/media/krukiattisak30245/sub/set_3/set3_6.html

<< Go Back