<< Go Back

 

          1. เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตของไก่
          2. เพื่อให้นักเรียนศึกษาลักษณะภายนอกของไก่
          3. อธิบายสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของไก่

      

          1. วีดิทัศน์ศึกษาการเลี้ยงไก่

          1. ศึกษารายละเอียดพันธุ์ของไก่
          2. ศึกษาการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่
          3. สำรวจโรงเรือนเลี้ยงไก่

          การเลี้ยงไก่สำหรับเกษตรกรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง ได้แก่

เลี้ยงเป็นงานอดิเรก
          โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าบริเวณบ้านหรือไร่ นา ให้เป็นประโยชน์วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อ บริโภคในครัวเรือน

เลี้ยงเป็นอาชีพ
          การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรจะต้องเลี้ยงไก่คราวละมาก ๆ และเลี้ยงภายในโรงเรือนมีการให้ไก่กินอาหารและน้ำอย่างเต็มที่

โรงเรือนสำหรับไก่
          โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอน โรงเรือนอาจจะทำเป็นเพิงแหงน เพิงแหงนกลาย แบบหน้าจั่ว และอื่น ๆ ก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน

โรงเรือนสำหรับไก่
          โรงเรือนเลี้ยงไก่ที่ดีนั้นควรมีลักษณะ ดังนี้
          1. สามารถป้องกันแดด กันลมและกันฝนได้ดี
          2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ชื้น และมีการระบายอากาศดีแต่ไม่ถึงกับมีลมโกรก
          3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้วัสดุสิ่งก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รักษาความสะอาดง่าย สามารถพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและยากำจัดปรสิตภายนอกได้ง่ายและทั่วถึง
          4. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ ได้ดี เช่น สุนัข แมว นกและหนู ฯลฯ
          5. ห่างจากที่พักอาศัยพอสมควร
          6. จะต้องออกแบบก่อสร้างให้สะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงาน

อุปกรณ์จำเป็นสำหรับเลี้ยงไก่

         อุปกรณ์ให้อาหาร
          เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารหกหล่นและปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินอาจทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่ทำได้ง่าย ทนทานและรักษาความสะอาดได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่ผ่าซีก ยางรถยนต์ผ่าซีก หรือใช้ถังอาหารไก่แบบ แขวนถังแขวนจะต้องจัดเตรียมไว้ให้เพียงพอกับจำนวนไก่ที่เลี้ยงเพราะตามธรรมชาติ

          อุปกรณ์ให้น้ำ
          ควรจัดหาน้ำให้ไก่ได้มีน้ำกินตลอดเวลา อุปกรณ์ให้น้ำอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก ถ้วย จาน อ่างดินหรือกระปุกน้ำพลาสติกก็ได้

          คอนนอน
          ตามธรรมชาติไก่จะไม่นอนบนพื้นดินแต่ชอบนอนบนกิ่งไม้บนต้นไม้หรือคอนไม้ ดังนั้นควรจัดให้มีคอนนอนไว้ มุมใดมุมหนึ่งเพื่อให้ไก่ใช้เป็นที่นอนในเวลากลางคืน

         รังไข่
          ผู้เลี้ยงจะต้องจัดหารังไข่ไว้ให้ไก่ก่อนที่ไก่จะเริ่มวางไข่ ถ้าหากต้องการให้แม่ไก่ฟักไข่เองจะต้อง จัดหารังให้มีจำนวนครบตามจำนวนหรือมากกว่า แม่ไก่ที่เลี้ยงเพื่อให้แม่ไก่เลือกรังที่เหมาะสมมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาแม่ไก่แย่งรังไข่กัน
          - วัสดุทำรัง มักจะนำมาดัดแปลงจากกล่อง กระดาษ เข่งหรือตะกร้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวไก่
          - ตำแหน่งที่ตั้งของรังไข่ควรอยู่ในที่มิดชิด ไม่ร้อน ไม่อับชื้น ไม่มืดและไม่สว่างจนเกินไปและไม่มีสิ่งรบกวน นอกจากนี้จะต้องไม่วางรังไข่ไว้ในบริเวณที่ไก่ตัวอื่นใช้เป็นที่นอน เนื่องจากจะถูกไก่ตัวอื่นมารบกวนในขณะแม่ไก่กำลังฟักไข่ได้

อาหารสำหรับการเลี้ยงไก่แบบปล่อยอิสระ
          การเลี้ยงไก่โดยทั่วไปเกษตรกรมักจะปล่อยให้ไก่หากิน เองตามธรรมชาติและอาจจะให้อาหารเพิ่มเติมบ้างใน ช่วงเช้าหรือเย็น อาหารที่ให้ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก ปลายข้าวหรืออาจจะเป็นเศษอาหารจากครัวเรือน ทำให้ไก่มักจะประสบปัญหาการขาดสารอาหารและเจริญเติบโตช้า การจัดการอาหารที่เหมาะสมจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยให้ไก่มีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้นอัตราการตายลดลง

โภชนาการที่สำคัญ
1. โปรตีน
          เพื่อนำไปสร้างกล้ามเนื้อ ขน เลือดและ ภูมิคุ้มกัน
          - วัตถุดิบจากพืชได้แก่ กากถั่วเหลือง ใบ กระถิน ฯลฯ
          - วัตถุดิบจากสัตว์ได้แก่ ปลาป่น หอย เชอรี่ ไส้เดือน หนอน แมลง ฯลฯ

2. แป้ง
          เพื่อนำไปสร้างพลังงานในร่างกาย สำหรับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เดิน วิ่งหรือทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน วัตถุดิบได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง เป็นต้น

3. ไขมัน
          เพื่อนำไปสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
          - วัตถุดิบจากพืช ได้แก่ น้ำมันจากถั่ว มะพร้าวหรือกากมะพร้าว
          - วัตถุดิบจากสัตว์ ได้แก่ น้ำมันหมู ไขสัตว์ เป็นต้น

4. แร่ธาตุ
          จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกเป็นส่วนประกอบของเลือดและเปลือกไข่ วัตถุดิบได้แก่ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น หินเกล็ด หินฝุ่นและไดแคลเซียมฟอสเฟส เป็นต้น

5. วิตามิน
          จำเป็นสำหรับการสร้างความแข็งแรงและช่วยสร้างภูมิต้านทานและบำรุงระบบประสาท ส่วนใหญ่ได้จากพืชสด หญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว เป็นต้น แมลงบางชนิดที่พบในธรรมชาติมีโปรตีนเป็น องค์ประกอบค่อนข้างสูงและมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนในสัดส่วน ที่คล้ายกับปลาปน ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงสัตว์ปีก

          ก่อนจะทำอะไรต้องมีการวางแผนซึ่งตอนแรกเราอาจต้องคิดว่าจะเลี้ยงไก่พันธุ์ไหนและเลี้ยงจำนวนเท่าไร จากนั้นจึงค่อย ๆ เรียนรู้และเพิ่มจำนวนรวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมการให้อาหารและโรคที่อาจจะเกิดขึ้นรวมไปถึงการดูแลป้องกันจากภายนอกด้วย


<< Go Back