<< Go Back

เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิด ฟอสซิล

1. ดินน้ำมัน

2. จานกระดาษ

3. เปลือกหอยหรือฝาขวดน้ำอัดลม

      

4. ปูนปลาสเตอร์

5. น้ำสะอาด

6. บีกเกอร์

7. แท่งแก้วคนสาร

8. พู่กัน

1. นวดดินน้ำมันให้นิ่มและทำให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมผิวเรียบบนจานกระดาษ
2. กดด้านนอกของเปลือกหอยลงบนดินน้ำมันแล้วค่อยๆ แกะเปลือกหอยออก สังเกตลักษณะรอยก้อนดินน้ำมันบริเวณที่กดเปลือกหอยลงไป
3. ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำในอัตราส่วน 2 : 1 คนให้เข้ากัน แล้วเทส่วนผสมที่ได้ลงในดินน้ำมันที่กดเปลือกหอย
4. เกลี่ยให้ผิวปูนปลาสเตอร์เรียบทิ้งไว้ให้แห้งค่อย ๆ แกะดินน้ำมันออกสังเกตปูนปลาสเตอร์ที่ได้

เมื่อกดเปลือกหอยลงในก้อนดินน้ำมัน ดินน้ำมันมีลักษณะเหมือนกับรูปร่างของเปลือกหอย และเมื่อนำปูนปลาสเตอร์เทลงไป รอจนแห้งแล้วแกะดินน้ำมันออก ก็จะได้ปูนปลาสเตอร์ที่มีลักษณะเดียวกับเปลือกหอย

สรุปได้ว่า ปูนปลาสเตอร์ที่ได้จากการทดลองเปรียบได้กับ ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล  ซึ่งเกิดจากซากของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ถูกรักษาสภาพไว้ในหิน ยางไม้ หรือในน้ำแข็ง ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่เป็นร่องรอยที่แสดงรูปร่างของเปลือกหอย กระดูกสัตว์ หรือใบไม้


<< Go Back