<< Go Back

ลำต้นประกอบด้วย
                     1. ข้อ (node) คือรอยต่อเป็นระยะๆ
                     2. ปล้อง (internode) คือส่วนของลำต้นระหว่างข้อ

วิสัยของพืช (plant habit) แบ่งได้ดังนี้
                     1. ไม้ล้มลุก (herb) มีลำต้นอ่อนนุ่ม เนื่องจากประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อไม้ เพียงเล็กน้อย ลำต้นจะตายไปเมื่อหมดฤดูเจริญเติบโต
                     2. ไม้พุ่ม (shrub) เนื้อแข้ง ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มักมีหลายลำต้น แต่ไม่มีลำต้น หลัก เช่น ทรงบาดาล กระถิน ฯลฯ
                     3. ไม้ต้น (tree) เนื้อแข็ง สูง มีลำต้นเพียงหนึ่งเห็นได้ชัด เช่น ประดู่ อินทนิล มะขาม ฯลฯ
                     ลำต้นนอกจากที่ติดของใบและดอกแล้ว ลำต้นอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ ไปได้ ซึ่งมีทั้งลำต้นบนดินและลำต้นใต้ดิน คือ
                     ไหล (stolon, runner) ลำต้นจะทอดราบไปตามพื้นดิน มีปล้องยาว ราก ใบ ดอก เกิดที่ข้อ เช่น บัวบก
                     ลำต้นคล้ำยใบ (phylloclade) ลำต้นที่มีลักษณะและทำหน้าที่คล้ายใบ มีสีเขียว เช่น สลัดได
                     มือพัน (stem tendril) ลำต้นเปลี่ยนไปทำหน้าที่เกาะหรือยึดกับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ต าลึง พวงชมพู ฟักทอง องุ่น ฯลฯ
                     ลำต้นใต้ดิน (subterranean stem) พืชบางชนิดมีลำต้นใต้ดิน ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ส่วนมากมักมีปล้องสั้นๆ แยกเป็นชนิดต่างๆ คือ
                     เหง้า (rhizome) ลำต้นมักขนานไปกับพื้นดิน มีปล้องและข้อสั้นๆ มีใบเกล็ดคลุม ที่ข้อ มีตาที่ข้อ ซึ่งจะเติบโตเป็นใบและแทงขึ้นสู่พื้นดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ฯลฯ
                     หัวแบบมันฝรั่ง (tuber) ลำต้นสูงใหญ่มีตา โดยรอบ เช่น มันฝรั่ง หัวแบบเผือก (corm)ลำต้นอวบอ้วน บริเวณส่วนกลางมักพองโต มีข้อและปล้อง สั้นๆ มีใบ เกล็ดหุ้มที่ข้อ เช่น แห้ว ฯลฯ
                     หัวแบบหอม (bulb) ลำต้นตรง ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้ บางส่วนอาจพ้นดินขึ้นมาบ้าง ใบเกล็ดด้านนอกจะบางเพราะไม่มีอาหารสะสมไว้ ส่วนในสุด เป็นลำต้นที่แท้จริง มีข้อและปล้องสั้นๆ มีรากงอกออกมาด้วย เช่น หัวหอม กระเทียม พลับพลึง เป็นต้น

ชนิดของราก แบ่งได้ดังนี้

                     รากแก้ว (primary root) เป็นรากแรกของพืชที่งอกจากเมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทาง แนวดิ่งทำให้ต้นไม้ยืนต้นอยู่ได้

                     รากแขนง (secondary root) เป็นรากที่แตกแขนงจากรากแก้วแผ่ออกไปตามแนวระดับ

                     รากพิเศษ (adventitious root) เป็นรากที่เกิดตามใบหรือตามลำต้นทำหน้าที่ต่างๆ กัน

นอกจากนี้ยังมีรากที่ดัดแปลงไป (modified root) คือ
                     รากค้ำจุน (prop root) เป็นรากที่แตกจากข้อของลำต้นที่อยู่เหนือพื้นดินแล้วพุ่งลงสู่ดิน เพื่อค้ำยันลำต้น เช่น โกงกาง เตย ไทรย้อย
                     รากสังเคราะห์แสง (photosynthetic root) เป็นรากที่แตกจากลำต้นหรือกิ่งห้อยอยู่ใน อากาศส่วนปลายสีเขียว สังเคราะห์แสงได้ เช่น กล้วยไม้
                     รากหายใจ (pneumatophore) เป็นรากที่แทงตั้งฉากขึ้นมาจากผิวดินเพื่อทำหน้าที่หายใจ เช่น ลำพูน ลำแพน ประสัก
                     รากเกาะ (climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น เกาะหลัก เสาหรือไม้ อื่น เช่น พลู พริกไทย
                     รากสะสมอาหาร (storage root) เป็นรากที่มีลักษณะอวบ อุ้มน้ำ เช่น กระชาย แครอท

ตาของพืชแบ่งตามตำแหน่งที่เกิดได้ดังนี้
                     ตายอด (terminal bud) เป็นตาที่ปลายสุดของลำต้นหรือกิ่ง
                     ตาข้าง (lateral bud) เป็นตาที่อยู่ด้านข้างของลำต้น หรืออยู่บริเวณง่ามใบ
นอกจากนี้ ตายังแบ่งตามการพัฒนาไปเป็นส่วนต่างๆ ของพืชได้ คือ
                     ตาใบ (leaf bud) เป็นตาที่เจริญไปเป็นใบ
                     ตาดอก (flower bud) เป็นตาที่เจริญไปเป็นดอก
                     ตารวม (mixed bud) เป็นตาที่มีเนื้อเยื่อที่จะเจริญไปเป็นทั้งใบและดอก

                     แผ่นใบ (blade หรือ lamina)
                     ก้านใบ (petiole หรือ leaf stalk)
                     หูใบ (stipule)
แผ่นใบ ลักษณะเป็นแผ่น มีขนาด รูปร่าง และเนื้อใบแตกต่างกันไป แผ่นใบประกอบด้วย
                     1. เส้นกลางใบ (midrib)   2. เส้นใบ (vein)      3. ปลายใบ (apex)      4. โคนใบ (base)       5. ขอบใบ (margin)
                     ก้านใบ ติดกับแผนใบตรงโคนใบ ยกเว้นบางชนิด ก้านใบติดลึกมาจากโคนใบ เช่น ใบบัว และถ้าตอนโคนของก้านใบหรือก้านใบทั้งหมดแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น เรียกว่า กาบใบ (leaf sheath)
                     หูใบ เป็นรยางค์หนึ่งคู่อยู่ที่โคนก้านใบ ใบอาจจะมีหูใบหรืออาจจะไม่มีหูใบก็ได้ พืชบางชนิด หูใบอาจดัดแปลงไปเป็นหนาม
                     ชนิดของใบ มี 2 ชนิด คือ ใบเดี่ยว (simple leaf) หรือ ใบประกอบ (compound leaves)
                     ใบเดี่ยวคือ ใบที่มีแผ่นใบเดียวและมีก้านใบเดียว
                     ใบประกอบ คือ ใบที่ประกอบด้วยแผ่นใบมากกว่า 1 เรียกใบเหล่านี้ว่า ใบย่อย ใบประกอบมีหลายแบบ คือ
                     ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีใบ ย่อยออก 2 ข้างของแกนกลาง ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อจากก้านใบ ใบประกอบแบบขนนกนี้ มีทั้งที่เป็น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เช่น ใบประกอบของต้นประดู่ ราชพฤกษ์ และใบประกอบแบบ ขนนกปลายคู่ เช่น ลิ้นจี่ เงาะ เป็นต้น
                     ใบประกอบแบบขนนก แบ่งออกเป็น
                     ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น คือ ใบประกอบแบบขนนกที่แกนกลาง แตกแขนงออกเป็นแกนกลางที่สอง แล้วจึงมีใบย่อยแบบขนนก
                     ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น คือ ใบประกอบที่แกนกลางที่ 2 แตก ออกเป็นแกนกลางที่ 3 จึงจะมีใบย่อยแบบขน เช่น ปีบ มะรุม
                     ใบประกอบแบบนิ้วมือ เป็นใบประกอบที่ก้านใบย่อยทุกใบออกจากตำแหน่ง เดียวกับตรงปลายก้านใบ

เป็นต้น

 

              http://www.rspg.or.th/botanical_school/pdf/โครงสร้างภายนอกของพืช.pdf

<< Go Back