<< Go Back

1. ทดลองและอธิบายการเลือกสิ่งของมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
2. สำรวจและนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของวัตถุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ตอนที่ 1

1. กระดาษเยื่อ (กระดาษทิชชู)
2. กระดาษหนังสือพิมพ์รายวัน (ชนิดที่น้ำซึมผ่านได้)
3. ถุงพลาสติก
4. เศษผ้า (ชนิดที่น้ำซึมผ่านได้)
5. น้ำสี
6. หลอดหยด
7. จานก้นแบน

กระดาษเยื่อ (กระดาษทิชชู)

กระดาษหนังสือพิมพ์รายวัน

ถุงพลาสติก

เศษผ้า (ชนิดที่น้ำซึมผ่านได้)

น้ำสี

หลอดหยด

จานก้นแบน

ตอนที่ 2

ชามกระเบื้อง

ช้อนกระเบื้อง

ช้อนสเตนเลส

ช้อนพลาสติก

ช้อนอลูมิเนียม

กาต้มน้ำ

นาฬิกาจับเวลา หรือนาฬิกาข้อมือที่มีเข็มวินาที

 

ตอนที่ 1

1. ตัดวัสดุต่างๆ ได้แก่ ผ้า กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเยื่อพลาสติก ให้มีขนาดและความยาวเท่ากัน
2. นำวัสดุในข้อ 1 วางบนขอบจาน ดังรูป

3. หยดน้ำสีลงตรงกลางจานให้ท่วมปลายของวัตถุพร้อมๆ กัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงทันที บันทึกผล
4. ตั้งไว้ต่อไปอีก 3 นาที สังเกตและบันทึกผลอีกครั้งหนึ่ง

ตอนที่ 2

1. นำช้อนที่ทำจากวัสดุต่างกัน 4 ชนิด ซึ่งมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุดวางบนขอบชาม โดยให้ด้ามช้อนอยู่พ้นขอบชามเท่าๆ กัน
2. จับที่ปลายด้ามช้อนแต่ละอันไว้ แล้วรินน้ำเดือนลงในชามให้ท่วมปลายช้อนทุกอันเท่าๆ กัน โดยจับช้อนไว้ตลอดเวลา
3. บันทึกเวลาเมื่อเริ่มรินน้ำเดือดลงในชาม และเมื่อมือเริ่มรู้สึกร้อน

ตอนที่ 1

น้ำสีซึมผ่านวัสดุแต่ละชนิดได้ไม่เท่ากัน จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน

เรียงลำดับการซึมของน้ำกับวัสดุแต่ละชนิดจากเร็วที่สุด
1. น้ำซึมผ่านกระดาษเยื่อได้เร็วที่สุด จึงใช้กระดาษเยื่อสำหรับเช็ดมือได้ดีกว่าผ้า
2. กระดาษหนังสือพิมพ์
3. เศษผ้า
4. พลาสติก น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้เลย

ตอนที่ 2

การถ่ายโอนความร้อนของวัสดุต่างๆ จากเร็วไปช้าเรียงลำดับได้ดังนี้
1. อะลูมิเนียม
2. สเตนเลส
3. กระเบื้อง
4. พลาสติก

การเลือกสิ่งของมาใช้งานให้เหมาะสมและปลอดภัย

เหตุการณ์ตัวอย่าง พลาสติก กระเบื้อง สเตนเลส ผ้ากันน้ำ
กินก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ        
อาหารที่มีรสเปรี้ยว  
อาหารสุกใหม่บนเตาไฟ      
ร่มกันฝน
ถุงใส่ของ

- การกินก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ ไม่ควรใช้ช้อนหรือตะเกียบพลาสติก เพราะความร้อนจะทำให้สารที่เป็นส่วนผสมของพลาสติกละลายมาปนมากับอาหาร ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
- อาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ต้มยำ น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว เป็นต้น ไม่ควรใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติกหรืออะลูมิเนียม กรดในสิ่งเหล่านี้จะละลายมาปนมากับอาหาร ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน


 

<< Go Back