<< Go Back

แสงมีผลต่อการตอบสนองต่อแสงของปลายยอดพืช


เมล็ดข้าวโพด

กระบะเพาะเมล็ด

ภาชนะสำหรับปลูก

กล่องกระดาษทึบ

กระดาษสีดำหรือกระดาษฟอยด์

1. เพาะเมล็ดข้าวโพดในกระบะเพาะเมล็ด โดยเก็บไว้ในที่มืด 1 – 2 วัน

2. วัดความสูงของต้นอ่อนให้สูงประมาณ 2 เซนติเมตร

3. นำมาปลูกในภาชนะปลูกจำนวน 9 ต้น โดยแบ่งปลูกเป็น 3 กลุ่ม

4. แบ่งกลุ่มต้นข้าวโพด ดังนี้
   กลุ่มที่ 1 : ปกติ
   กลุ่มที่ 2 : ตัดปลายยอดออก
   กลุ่มที่ 3 : ปิดปลายยอดด้วยกระดาษสีดำหรือกระดาษฟอยด์

5. นำกล่องทึบที่ด้านในกล่องเป็นสีดำมาเจาะรูด้านหนึ่งให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร และอยู่ในระดับเดียวกับปลายยอดข้าวโพด

6. นำกล่องที่เตรียมไว้มาครอบภาชนะที่ปลูกต้นข้าวโพดทั้ง 3 กลุ่ม

7. นำการทดลองนี้ไปไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง โดยให้แสงผ่านเข้าช่องที่เจาะไว้เป็นเวลา 1 วัน

8. เมื่อครบ 1 วัน ให้นำกล่องที่ครอบออก สังเกตผลที่เกิดขึ้น และบันทึกผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

การทดลอง การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็น
ต้นข้าวโพดกลุ่มที่ 1  
ต้นข้าวโพดกลุ่มที่ 2  
ต้นข้าวโพดกลุ่มที่ 3  

พืชมีการตอบสนองต่อแสง ซึ่งสังเกตได้จากลำต้นของพืชจะเอนไปในทิศทางที่มีแสงแดดส่องถึง โดยพืชจะโค้งงอเข้าหาแสงได้นั้น จะต้องมีส่วนของปลายยอดและได้รับแสงอยู่เท่านั้น


 

<< Go Back