<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมภาคสนามเพื่อสำรวจสภาพทั่วไปของสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่ศึกษา
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตและบันทึกสภาพทั่วไปและองค์ประกอบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตในบริเวณที่ศึกษา
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในข้อที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตในบริเวณที่ศึกษา
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและอธิบายการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่สำรวจของชุมชนและผลที่เกิดจากการใช้พื้นที่นั้น

1. เสียมมือ 1 เล่ม
2. ไม้เมตร 1 อัน
3. แว่นขยาย 1 อัน
4. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ 1 กล่อง
5. เซดิดิสก์ 1 อัน
6. เดนซิโอมิเตอร์ 1 อัน
7. แท่งแก้วคน 1 อัน
8. เทอร์โมมิเตอร์ 1 อัน
9. บิ๊กเกอร์ 100 cm 3 1 ใบ

ให้แต่ละกลุ่มเลือกพื้นที่ที่สนใจจะศึกษา ซึ่งอาจเป็นบนบกหรือแหล่งน้ำ เมื่อเลือกบริเวณที่จะสำรวจได้แล้ว กำหนดขอบเขตของบริเวณที่จะสำรวจประมาณ 10 m X 10 m และเริ่มสำรวจดังนี้

1. สังเกตและบันทึกสภาพแวดล้อมทั่วไปของบริเวณที่สำรวจ ตลอดจนลักษณะทั่วไปอื่นๆ ของพื้นที่ เช่น ต้นไม้ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ร่มเงา สีและกลิ่นของน้ำหรือดิน ลักษณะเนื้อดิน ฝุ่นละออง ควัน กลิ่น และ เสียง เป็นต้น

2. ศึกษาองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ ดังนี้
2.1 แสงสว่าง
- แหล่งน้ำ วัดระยะทางที่แสงส่องผ่านน้ำ โดยใช้เซดิดิสก์
- พื้นที่บนบก วัดความหนาแน่นของเรือนยอดของต้นไม้ในบริเวณนั้น โดยใช้ เดนซิโอมิเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้เปรียบเทียบได้ว่า แต่ละบริเวณมีพื้นที่ที่แสงส่องถึงพื้นดินมากน้อยต่างกันเพียงใด
2.2 อุณหภูมิ
- แหล่งน้ำ วัดอุณหภูมิที่ผิวน้ำ โดยหย่อนเทอร์โมมิเตอร์ลงในน้ำลึกประมาณ 5 cm บันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้
- พื้นที่บนบก วัดอุณหภูมิที่ผิวดิน โดยเสียบเทอร์โมมิเตอร์ลงไปในดินลึกประมาณ 5 cm บันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้
2.3 ความเป็นกรด-เบส (pH)
- แหล่งน้ำ วัด pH ของน้ำที่ผิดน้ำโดยใช้แท่งแก้วจุ่มลงในตัวอย่างน้ำที่เก็บจากบริเวณผิวน้ำ นำมาแตะลงบนกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิ- เคเตอร์ เทียบสีกับสีมาตรฐาน บันทึกค่า pH ที่อ่านได้
- พื้นที่บนบก วัน pH ของดิน โดยการนำดินจากระดับผิวดินประมาณ 50 g ใส่ลงในภาชนะ เติมน้ำกลั่น 50 cm3 ใช้แท่งแก้วคนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นใช้แท่งแก้วจุ่มส่วนที่เป็นของเหลวมาแตะลงบนกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์เทียบสีกับสีมาตรฐาน แล้วบันทึกค่า pH ที่อ่านได้

3. ศึกษาองค์ประกอบที่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ ดังนี้
3.1 บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่พบ โดยระบุชื่อ ลักษณะ จำนวน และแหล่งที่พบ
3.2 สังเกตพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น การกินอาหาร การอยู่ร่วมกัน ทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์นั้น

4. ศึกษาว่าชุมชนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่สำรวจอย่างไร รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์

5. วิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอผลการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

ผลการทดลองการสำรวจระบบนิเวศบนบก
บริเวณที่สำรวจ เป็นสวนสาธารณะ สภาพทั่วไปมีลักษณะดังนี้
เนื้อดินในบริเวณนั้นมีลักษณะละเอียดสีดำ บริเวณที่สำรวจมีต้นไม้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่ พื้นดินมีหญ้าขึ้นเล็กน้อย และความหนาแน่นของเรือนยอดของต้นไม้มีค่าประมาณ 40 % รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและที่มีชีวิตแสดงในรูปของตารางได้ดังนี้

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศบนบก


ผลการทดลองการสำรวจระบบนิเวศแหล่งน้ำ
บริเวณที่สำรวจเป็นหนองน้ำที่ชุมชนใช้เป็นแหล่งจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร
: สภาพน้ำทั่วไปมีลักษณะดังนี้ เป็นหนองน้ำกว้าง 30 เมตร ยาว 70 เมตร น้ำมีสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีกลิ่น มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ พื้นดินรอบๆ แหล่งน้ำมีกิ่งไม้และใบไม้แห้งกระจายอยู่ทั่วไป
: รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและที่มีชีวิตแสดงในรูปของตารางได้ดังนี้

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำ


สรุปได้ว่า

1. สภาพแวดล้อมประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตซึ่งจะแตกต่างกันไปในที่แต่ละแห่ง และมีสภาพแวดล้อมนั้นๆ มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น
2. มีความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิตด้วยกันเอง และกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต
3. สภาพแวดล้อมแต่ละแห่งมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและจำนวนแตกต่างกันไป
4. พื้นที่ในบริเวณสำรวจมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เช่น เป็นแหล่งที่อยู่ แหล่งอาหาร บางแห่งมนุษย์ใช้เป็นแหล่งประกอบอาชีพ เช่น แหล่งน้ำสำหรับประกอบอาชีพประมง


    << Go Back