<< Go Back

                     1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างแบบจำลองจากข้อมูลของกลุ่มดาวได้
                     2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการมองเห็นดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างกัน เรียงตัวกันเป็นกลุ่มดาว
                     3. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายอันดับความสว่างปรากฏสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างโลกกับดาวฤกษ์

1. ดินน้ำมัน 5 สีๆ ละ 1 ก้อน 5 ก้อน
2. ด้ายสีดำ 1 หลอด
3. ไม้จิ้มฟัน 5 อัน
4. กล่องกระดาษขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 50 เซนติเมตร 1 ใบ
5. กระดาษโปสเตอร์สีดำ 3 แผ่น

ดินน้ำมัน ด้ายสีดำ กล่องกระดาษ

ด้ายสีดำ กระดาษโปสเตอร์สีดำ

ดาวค้างคาว

ดวงที่

อันดับความ
  สว่างปรากฏ

ระยะห่างจากโลก (ปีแสง)

              

                                         

                      

                                   

                     

1
2
3
4
5

2.6
2.16
2.2
2.67
3.33

45
150
96
43
500

ให้นักเรียนใช้ข้อมูลอันดับความสว่างปรากฏ และระยะห่างจากโลกในตารางสร้างแบบจำลองกลุ่มดาวค้างคาว
1. ปั้นดินน้ำมันทุกสีเป็นก้อนกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร ก้อนละ 1 สี รวม 5 ก้อน และใช้สีของดินน้ำมันแทนความสว่างปรากฏดังนี้

  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีแดง แทนดาวดวงที่ 1 มีอันดับความสว่างปรากฏ = 2.6
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีเหลือง แทนดาวดวงที่ 2 มีอันดับความสว่างปรากฏ = 2.16
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีเขียว แทนดาวดวงที่ 3 มีอันดับความสว่างปรากฏ = 2.2
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีชมพู แทนดาวดวงที่ 4 มีอันดับความสว่างปรากฏ = 2.67
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีฟ้า แทนดาวดวงที่ 5 มีอันดับความสว่างปรากฏ = 3.33

2. แขวนดินน้ำมันแต่ละก้อน โดยให้วัดระยะจากปากกล่องด้านที่เปิดเข้าไปถึงตำแหน่งจุดแขวนดังนี้

  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีแดง ระยะห่างจากปากกล่อง 4.5 เซนติเมตร
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีเหลือง ระยะห่างจากปากกล่อง 15.0 เซนติเมตร
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีเขียว ระยะห่างจากปากกล่อง 9.6 เซนติเมตร
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีชมพู ระยะห่างจากปากกล่อง 4.3 เซนติเมตร
  • ดินน้ำมันก้อนกลมสีฟ้า ระยะห่างจากปากกล่อง 50.0 เซนติเมตร

3. นำดินน้ำมันจากข้อ 1. ทุกๆ ก้อน ผูกติดกับด้ายยาว 30 เซนติเมตร แล้วนำไปแขวนที่ระยะต่างๆ ในข้อ 2. และจัดระยะด้ายที่ผูกติดดินน้ำมันและไม่จิ้มฟันให้มีลักษณะสูงหรือต่ำ

                 ผลการทดลองที่ได้  คือ

สรุปได้ว่า

            การมองวัตถุที่อยู่ระยะไกลๆ จะมองเห็นอยู่ในแนวเดียวกัน แม้วัตถุนั้นจะอยู่ในตำแหน่งห่างกัน จึงเหมือนกับการมองกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ จากพื้นโลก
            การนำความรู้เรื่องการสร้างแบบจำลองกลุ่มดาวค้างคาวไปใช้ประโยชน์ในด้านการสร้างแบบจำลองกลุ่มดาวอื่นๆ ซึ่งจะสามารถให้รายละเอียดของข้อมูลของดาวแต่ละดวงในสามมิติ


<< Go Back