<< Go Back

           ในทางเคมี สารละลาย (อังกฤษ: solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำ
1. สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของมัน
2. ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย

สารละลายแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้:

ตัวอย่าง
ของสารละลาย
ตัวถูกละลาย
ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
ตัวทำ
ละลาย
ก๊าซ ออกซิเจน และ ก๊าซอื่นในไนโตรเจน (อากาศ) ไอน้ำ ใน อากาศ(ความชื้น) กลิ่น ของของแข็งเป็นผลมาจากโมเลกุล  ของของแข็งกระจายตัวในอากาศ
ของเหลว คาร์บอนไดออกไซด์ ในน้ำ
(น้ำคาร์บอเนต)
เอทานอล (แอลกอฮอล์) ในน้ำ; ไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดใน (ปิโตรเลียม) ซูโครส (น้ำตาลทราย) ในน้ำ; โซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง) ในน้ำ
ของแข็ง ไฮโดรคาร์บอน ละลายในโลหะ;
 แพลทินัม 
ถูกศึกษาให้เป็นตัวกลางในการเก็บ
น้ำ ใน ถ่านกัมมันต์(activated charcoal) ; ความชื้นใน ไม้ เหล็กกล้า, ดูราลูมิน(duralumin)
 โลหะอื่นโลหะผสม



               https://th.wikipedia.org/wiki/สารละลาย

<< Go Back