<< Go Back

                      1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับลำดับการตกตะกอนของ ตะกอน  ที่มีขนาดต่างกัน
                      2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตและอธิบายลักษณะการสะสมตะกอนในกรณีที่เทตะกอนมากกว่า 1 ครั้ง

1. น้ำ 1,000 cm3 2. ทรายหยาบ 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3
3. ทรายละเอียด 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3 4. ดินหยาบ 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3
5. ดินละเอียด 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3 6. กรวดหยาบ 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3
7. กรวดละเอียด 2 กล่องพลาสติกเบอร์ 3 8. ขวดพลาสติกใส ขนาด 1.5 ลิตร 2 ใบ
9. กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 แผ่น 10. เทปกาว 1 ม้วน

                       1. ผสมกรวดหยาบ กรวดละเอียด ทรายหยาบ ทรายละเอียด ดินหยาบ ดินละเอียด อย่างละ 150 กรัม ให้เข้ากันในภาชนะ
                       2. นำขวดน้ำพลาสติกใสขนาด 1.5 ลิตร 2 ใบ ตัดบริเวณปากขวด แล้วเชื่อมต่อกันให้สนิทด้วยกาวหรือเทป ดังภาพ และเติมน้ำประมาณ 2/3 ของความสูงของขวดที่ต่อแล้ว
                       3. เทของผสมในข้อ 1. ลงในขวดน้ำที่เตรียมไว้ใน ข้อ 2. สังเกตการตกตะกอน
                       4. ทำซ้ำในข้อ 1.-3. โดยเทของผสมใหม่ลงในขวดเดิม อีก 1-2 ครั้งบันทึกผล
                       5. ตั้งขวดสะสมตะกอนไว้จนน้ำระเหยแห้งหมด และเก็บไว้ศึกษาในกิจกรรมต่อไป

                       ผลการทดลองที่ได้ คือ

สาร

ลำดับที่การตกตะกอน

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ดินละเอียด

6

6

6

ดินหยาบ

5

5

5

ทรายละเอียด

4

4

4

ทรายหยาบ

3

3

3

กรวดละเอียด

2

2

2

กรวดหยาบ

1

1

1

สรุปได้ว่า

                       การตกตะกอนจะเกิดเป็นลำดับตามขนาดของตะกอน จากตะกอนขนาดใหญ่ไปหาตะกอนขนาดเล็ก โดยมีตะกอนของดินละเอียดตกตะกอนประสานตามช่องว่างของตะกอนขนาดใหญ่ และเกิดเป็นชั้นตะกอนแยกกันชัดเจนระหว่างการเทตะกอนแต่ละครั้ง


<< Go Back