<< Go Back

                      1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ สังเกต บันทึกลักษณะของดินและ ส่วนประกอบของดิน  ที่ผิวดิน บริเวณจุดศึกษาได้
                      2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะ ส่วนประกอบและสมบัติของดินที่ผิวดินในบริเวณต่างๆ ได้
                      3. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกวิธีเก็บตัวอย่างดิน และเก็บตัวอย่างดินสำหรับทดสอบในห้องปฏิบัติการได้

1. พลั่วหรือเสียมหรือ
มีดพับสำหรับแซะดิน 1 อัน
2. กระดาษหนังสือพิมพ์หรือ
แผ่นพลาสติกสำหรับวางดิน 1 แผ่น
3. ไม้เมตรหรือสายวัด
ที่มีหน่วยเป็นเมตร1 อัน
4. ตะปูหรือไม้สำหรับ
การกำหนดระยะ 1 เมตร 20 ตัว
5. แว่นขยาย1 อัน 6. กระบอกฉีดน้ำที่บรรจุน้ำ 1 กระบอก
7. ปากกาทำเครื่องหมายที่กันน้ำได้ 1 ด้าม 8. ถุงพลาสติกหรือกล่องพลาสติกเบอร์ 1
สำหรับเก็บตัวอย่างดิน 3 กล่อง

                       1. กำหนดพื้นที่บริเวณที่จะศึกษา ประมาณ 1 x 1 ตารางเมตร
                       2. สังเกตลักษณะภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม ชนิดของพืชและสัตว์ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว
                       3. สังเกตพื้นผิวดินเกี่ยวกับสี ขนาด การจัดตัวของเนื้อดิน และสิ่งต่างๆ ที่ปนอยู่ในดินบริเวณที่ศึกษา และบริเวณใกล้เคียง

                       ตารางแสดงลักษณะผิวดินบริเวณที่ศึกษากับบริเวณใกล้เคียง

             - ลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ศึกษา ที่ลุ่มน้ำท่วมถึง มีต้นไม้ใหญ่โดยรอบและมีนกและรังนกบนต้นไม้
            - การใช้ดินในอดีต เป็นที่ดินว่างเปล่า ปกคลุมด้วยหญ้า วัชพืช
            - การใช้ดินในปัจจุบัน แปลงปลูกผัก
            - วิธีการ การขุดหลุม

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ

พื้นผิวดิน

ความลึก
(cm)

สีของดิน

ความหยุ่นตัว
(ร่วนมาก,ร่วนน้อย)
(แน่นมาก, แน่นน้อย)

เนื้อดิน
(ชื่อ)

ทราย
(ไม่มี,มีเล็กน้อย,มีมาก)

ระบบนิเวศ
ภายในดิน

บริเวณที่
ศึกษา

10

ดำ

แน่นมาก

ดินเหนียว

มีเล็กน้อย

ไส้เดือน มด และ
พืชเล็ก ๆ

บริเวณ
ใกล้เคียง

10

ดำ

แน่นมาก

ดินเหนียว

มีเล็กน้อย

ไส้เดือน มด และ
พืชเล็ก ๆ

            ลักษณะผิวดินบริเวณที่ศึกษากับลักษณะผิวดินบริเวณใกล้เคียงเหมือนกัน เหตุผลคือ ผิวดินบริเวณที่ศึกษาและผิวดินบริเวณใกล้เคียง อยู่ในบริเวณธรณีสัณฐานเดียวกันและมีภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

            สรุปได้ว่า สมบัติต่าง ๆ ของดินเหมือนกันหรือแตกต่างกันไปตามลักษณะธรณีสัณฐาน


<< Go Back