พลังงานศักย์โน้มถ่วง คือ พลังงานที่เกิดจากวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งจากระดับหนึ่งไปสู้ระดับหนึ่ง งานที่ใช้ในการนำวัตถุให้เคลื่อนที่จากระดับหนึ่งไปสู้ระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ของวัตถุนั้นที่ระดับใหม่เมื่อเทียบกัน หน่วยของพลังงานศักย์โน้มถ่วงในระบบเอสไอ คือ จูล เช่นเดียวกับหน่วยของงาน และพลังงานจลน์ และเป็นปริมาณสเกลาร์
พลังงานศักย์โน้มถ่วง ( Gravitational potential Energy : E pg )
วัตถุมีมวล m มีการ เคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่ง โดยเป็นการเปลี่ยนระดับในแนวดิ่งจากตำแหน่งอ้างอิงระดับหนึ่ง เรียกว่า แนวสมดุล ในที่นี้กำหนดให้วัตถุมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจากแนวสมดุลเป็นระยะ h
ส่วนวัตถุวงกลมมีการเคลื่อนที่ในลักษณะคดเคี้ยวแต่วัตถุทั้งสองมีการเปลี่ยนระดับความสูงจากแนวสมดุลเท่ากัน คือ ระยะ h ถ้าวัตถุทั้งสองมีมวลเท่ากัน พลังงานศักย์โน้มถ่วงที่เกิดขึ้นกับวัตถุ ทั้งสองนี้ก็จะมีค่าเท่ากัน แสดงว่างานของแรงโน้มถ่วงของโลกนี้จะไม่ขึ้นกับลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่ขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย ในช่วงที่พิจารณา แรงที่ทำให้เกิดงานในลักษณะนี้จะเรียกว่า แรงอนุรักษ์ (Comservation force)
https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/krumanoch/phlangngan-saky-nom-thwng
|