1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและหาความยาวโฟกัสของเลนส์นูน![](image/icon002.gif)
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและบอกลักษณะของภาพที่เกิดขึ้นจากเลนส์นูน
![](image/t02.png)
1. หม้อแปลงไฟฟ้าโวลต์ตํ่า 1 เครื่อง
2. กล่องแสง 1 กล่อง
3. สายไฟ 2 เส้น
![](image/b01.png)
4. แว่นขยาย 1 อัน
![](image/b02.jpg)
![](image/t03.png)
1. หาความยาวโฟกัสของเลนส์นูน โดยใช้เลนส์นูนรับแสงจากกล่องแสง
2. วางเทียนไข แว่นขยาย และฉาก โดยให้ระยะห่างจากเทียนไขกับเลนส์มากกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ ดังภาพ
![](image/a01.png)
3. จุดเทียนไข สังเกตภาพบนฉาก ถ้าภาพไม่คมชัดให้เลื่อนฉากจนภาพของเปลวเทียนไขปรากฏบนฉากชัด สังเกตลักษณะภาพและบันทึกระยะระหว่างฉากกับเลนส์
4. เปลี่ยนระยะระหว่างเขียนไขกับเลนส์นูน อีก 2 ระยะ แล้วทำซ้ำข้อ 3.
5. วางเทียนไขใกล้เลนส์นูน โดยให้ระยะระหว่างเทียนไขกับเลนส์นูนน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์นูน สังเกตภาพของเปลวเทียนไขผ่านเลนส์นูน ดังภาพ
![](image/a02.png)
ความยาวโฟกัส ของเลนส์นูน เท่ากับ 70 เซนติเมตร เมื่อวางเทียนไขห่างจากเลนส์นูนมากกว่าความยาวโฟกัสเล็กน้อย ภาพที่เกิดบนฉากจะเป็นภาพหัวกลับขนาดใหญ่กว่าเทียนและอยู่ห่างจากเลนส์มากกว่าระยะที่เทียนไขห่างจากเลนส์ ถ้าวางเทียนไขให้ห่างจากเลนส์เป็นระยะ 2 เท่าของความยาวโฟกัส จะได้ภาพบนฉากหัวกลับขนาดเท่าเทียนไข ภาพจะอยู่ห่างจากเลนส์เท่ากับระยะที่เทียนไขห่างจากเลนส์ และถ้าวางเทียนไขห่างจากเลนส์มากขึ้นอีก ยังคงได้ภาพบนฉากเป็นภาพหัวกลับแต่มีขนาดเล็กกว่าเทียนไข และภาพที่ได้อยู่ห่างจากเลนส์เป็นระยะน้อยกว่าระยะที่เทียนไขห่างจากเลนส์ และเมื่อวางเทียนไขใกล้เลนส์นูนโดยระยะระหว่างเทียนไขกับเลนส์นูนน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะไม่เกิดภาพบนฉาก แต่ถ้ามองเปลวไฟของเทียนไขผ่านเลนส์นูนจะเห็นภาพหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าเทียนไข
![](image/vdo_lab01.png)
![](image/vdo_lab02.png)
|