<< Go Back

จุดหลอมเหลว (Melting point : M.P.) คือ อุณหภูมิที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เมื่อได้รับพลังงานความร้อน ซึ่งเกิดจากอนุภาคภายในของแข็งมีพลังงานจลน์สูงขึ้น ทำให้อนุภาคเกิดการสั่น จนเมื่อถึงความร้อนจุดๆหนึ่ง จะทำให้อนุภาคเกิดการสั่นอย่างรุนแรง จนถึงขีดที่อนุภาคภายในของแข็งแยกออกจากกัน และเคลื่อนที่ไปมาได้ ทำให้สารนั้นไม่เป็นโครงผลึกอีกต่อไป จุดหลอมเหลว เป็นค่าจำเพาะของสารหนึ่งๆ สามารถใช้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารได้ ตัวอย่างเช่น น้ำ มีจุดหลอมเหลว เป็น 0 องศาเซลเซียส (Celsius) หมายความว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานะของแข็งของน้ำจะกลายสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำก็มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส อธิบายว่า น้ำสถานะของเหลวจะกลายสถานะเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

- อุปกรณ์พื้นฐาน ที่จำเป็นในการหาจุดหลอมเหลว มีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการหาจุดหลอมเหลว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. บรรจุสารลงในหลอดแคปิลารี (Capillary melting point tube) ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร จากปลายหลอดแคปิลลารี และมัดติดกับเทอร์โมมิเตอร์ โดยยางวง (Rubber band)
2. เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้ากับจุกคอร์ก และยึดติดกับแคลมพ์ (Clamp)
3. เทน้ำมันพาราฟินหรือกลีเซอรอล (หรือสารชนิดอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ) ลงในบีกเกอร์ (Beaker) และจุ่มปลายเทอร์โมมิเตอร์ลงในบีกเกอร์ อย่าให้ปลายกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์อยู่ติดกับผนังบีกเกอร์
4. ให้ความร้อนอย่างช้าๆ บันทึกอุณหภูมิเมื่อเห็นสารในหลอดแคปิลลารีเริ่มหลอมเหลว อุณหภูมินั้น คือ จุดหลอมเหลว (Melting point)

ข้อควรระวัง
1. ควรระมัดระวังในการให้ความร้อนของสารในบีกเกอร์ ไม่ควรให้อุณหภูมิที่เร็วเกินไป เพราะจะทำให้ช่วงการหลอมเหลวของสารกว้าง ค่าจุดหลอมเหลวที่ได้จะคลาดเคลื่อน
2. ควรทำให้เกิดการกระจายความร้อนของสารในบีกเกอร์อย่างทั่วถึง อาจจะใช้เตาให้ความร้อนไฟฟ้า (Hot plate) ที่สามารถกวนสาร (Stirrer) ได้ โดยใช้แม่เหล็ก (Magnetic stirrer) ในการกระจายความร้อน


 

 

https://sites.google.com/site/smallscaleforteachers/10-thekhnikh-ptibati-kar-thang-khemi/5-3-thekhnikh-kar-ha-cudhlxmhelw-melting-point-determination

<< Go Back