<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองแยกนํ้าด้วยไฟฟ้าและอธิบายสมบัติของธาตุที่เป็นผลจากการแยกนํ้าด้วยไฟฟ้า
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายสมบัติของสารประกอบและธาตุ

1. นํ้าประปา    1,000 cm3

2. ธูป      1          ดอก

3. ชุดแยกนํ้าด้วยไฟฟ้า      1          ชุด

4. กระบะถ่าน พร้อมถ่านไฟฉาย 4 ก้อน    1          ชุด

5. หลอดทดลองขนาดเล็ก      2          หลอด

6. กระจกปิดสไลด์     2          แผ่น

7. ขาตั้ง พร้อมที่จับหลอดทดลอง      2          ชุด

   

 

                  1. ใส่น้ำประปาในถ้วยพลาสติกของเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจนเต็ม ปิดฝาครอบที่มีหลอดทดลองและขั้วไฟฟ้า ดังภาพ ปิดรูระบายอากาศแล้วคว่ำถ้วยพลาสติก เพื่อให้น้ำเข้าในหลอดทดลองจนเต็ม แล้วหงายถ้วยพลาสติกขึ้น
                  2. ต่อสายไฟจากแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ เข้ากับเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าให้ครบวงจรสังเกตการเปลี่ยนแปลงในหลอดทดลองทั้งสอง บันทึกผล
                  3. เมื่อได้ก๊าซเต็มหลอดแล้ว ถอดสายไฟออกใช้จุกยางปิดปากหลอดทดลองไว้และทำเครื่องหมายกำกับว่าหลอดทดลองใดมาจากขั้วไฟฟ้าใด
                  4. ทดสอบการติดไฟของก๊าซในหลอดทั้งสองหลอดโดยใช้ไม้ขีดไฟที่ลุกเป็นเปลวจ่อบริเวณปากหลอด สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงบันทึกผล
                  5. ทำการทดลองซ้ำ ทดสอบการติดไฟของก๊าซที่ได้ทั้ง 2 หลอดโดยใช้ธูปที่ติดไฟเหลือแต่ถ่านแดง หย่อนลงในหลอดทดลองทีละหลอดอย่างรวดเร็วทันทีที่เปิดจุกยากออกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง บันทึกผล

                 ผลการทดลองที่ได้   คือ

ขั้วไฟฟ้า
ที่ทำ ให้เกิดก๊าซ

อัตราเร็ว
ในการเกิดก๊าซ

ผลที่สังเกตได้เมื่อ

ทดสอบการติดไฟ

ทดสอบการช่วยให้ไฟติด

ขั้วไฟฟ้าลบ

เกิดเร็ว

จะเกิด ไ ฟ ลุก ติด
ที่ปากหลอดทดลองและมีเสียง

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ขั้วไฟฟ้าบวก

เกิดช้ากว่า
ประมาณเท่าตัว

เปลวไฟจากก้านไม้ขีด
สว่างขึ้นจากเดิมเล็กน้อย

จะทำ ให้ก้านธูปเกิด
เปลวไฟลุกสว่างขึ้น

                 สรุปได้ว่า  เมื่อผ่านไฟฟ้ากระแสตรง (จากแบตเตอรี่) ลงไปในนํ้าประปา จะมีก๊าซเกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสองที่ต่ออยู่กับขั้วไฟฟ้า
                 ก๊าซที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าบวกจะช่วยให้ไฟติด ซึ่งเรียกว่าก๊าซออกซิเจน ส่วนก๊าซที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าลบจะติดไฟได้ ซึ่งเรียกว่าก๊าซไฮโดรเจน


<< Go Back